บริการยื่นคำขอการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทอนุสิทธิบัตร

banner

ข้อมูลบริการ

  • การเพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพธุรกิจ
  • สิ่งทอ
  • อาหาร
  • เทคโนโลยี
  • Green
  • BCG
  • Digital
  • Green
  • การเกษตร
  • ขนส่งและโลจิสติกส์
  • ค้าปลีกและค้าส่ง
  • เครื่องมือแพทย์
  • เครื่องสำอาง
  • ท่องเที่ยว
  • ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • ยาและสมุนไพร
  • สิ่งทอ
  • เหล็กและยานยนต์
  • อาหาร
  • อื่น ๆ

รายละเอียดบริการ

  1.รายละเอียดบริการ 

                อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นหน่วยงานกลางของมหาวิทยาลัยที่ให้บริการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาให้กับบุคลากรภายใน และบุคคล หน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย ตั้งแต่การสร้างการรับรู้ เข้าใจในทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่างๆ การใช้ประโยชน์ และความตระหนักต่อการปัองกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์องค์ความรู้ที่มีประโยชน์  การคุ้มครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา การนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ในรูปแบบต่างๆ ที่ต้องผ่านการเจรจาต่อรอง  การทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในลักษณะต่างๆ  ตลอดจนการบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ดังนี้

  • การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภท สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (invention patent)

หมายถึง การคิดค้นเกี่ยวกับ กลไก โครงสร้าง ส่วนประกอบ ของสิ่งของเครื่องใช้ เช่น กลไกของกล้องถ่ายรูป, กลไกของเครื่องยนต์, ยารักษาโรค เป็นต้น หรือการคิดค้นกรรมวิธีในการผลิตสิ่งของ เช่น วิธีการในการผลิตสินค้า, วิธีการในการเก็บรักษาพืชผักผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วเกินไป เป็นต้น

  • การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภท สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ (design patent)

หมายถึง การออกแบบรูปร่าง ลวดลาย หรือสีสัน ที่มองเห็นได้จากภายนอก เช่น การออกแบบแก้วน้ำให้มีรูปร่างเหมือนรองเท้า เป็นต้น

  • การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภท อนุสิทธิบัตร (petty patent)

เป็นการให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์คิดค้น เช่นเดียวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ แต่แตกต่างกันตรงที่การประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตร เป็นการประดิษฐ์ที่มีเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้นมาก

  • การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภท ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่มอบสิทธิทางกฎหมายที่มอบให้ผู้สร้างสรรค์งานแต่เพียงผู้เดียวในการเผยแพร่ ทำซ้ำ หรือดัดแปลงงานที่สร้างสรรค์ โดยทั่วไปแล้ว งานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์เป็นงานสร้างสรรค์ทางปัญญาทุกรูปแบบ เช่น งานเขียน งานดนตรี งานนาฏศิลป์ งานศิลปะ ภาพถ่าย ภาพยนตร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถมอบสิทธิ์ให้แก่บุคคลอื่นได้ โดยอาจจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้ เช่น สิทธิ์การตีพิมพ์ สิทธิ์การแปล สิทธิ์การดัดแปลง เป็นต้น

  • การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภท เครื่องหมายการค้า

หมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พ.ศ. 2543 มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้

  1. เครื่องหมายการค้า
  2. เครื่องหมายบริการ
  3. เครื่องหมายรับรอง
  4. เครื่องหมายร่วม

2.วัตถุประสงค์ 

  1. เพื่อเสริมสร้างความรู้และเผยแพร่กิจกรรมด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่ผู้ประกอบการ
  2. เพื่อกระตุ้นและเพิ่มศักยภาพในการค้นคว้าวิจัย การพัฒนานวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ของผู้ประกอบการ

3.ขั้นตอนการดำเนินการ 

  1. ผู้ประดิษฐ์/ผู้ออกแบบ กรอกข้อมูลรายละเอียด
  2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเนื้อหาและความเป็นไปได้ในการยื่นคำขอรับสิทธิ
  3. นัดผู้ประดิษฐ์/ผู้ออกแบบ เพื่อหารือเกี่ยวกับเนื้อหา
  4. เจ้าหน้าที่จัดเตรียมเอกสารสำหรับการยื่นคำขอรับสิทธิ
  5. ตรวจสอบ/ปรับแก้
  6. ยื่นคำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา

4.สิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับ

  1. การร่างคำขอ
  2. จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง (แบบพิมพ์คือขอ คำรับรองเกี่ยวกับสิทธิ (ถ้ามี) สำเนาบัตรประชาชน เป็นต้น)
  3. เลขที่คำขอ

คำค้น (Keyword)

IP อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ MAP จดทะเบียนทรัพย์สิทนทางปัญญา

สาขาที่ให้บริการ

สำนักงานใหญ่

ข้อมูลในการติดต่อ

บริการเข้าร่วม

การโอนสิทธิชำระค่าบริการ
ระบบบริการ

฿20,000

เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ SME

กิจกรรมที่เข้าร่วม

การบริหารจัดการ การเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ

วันที่ยื่นข้อเสนอ :

01 ม.ค. 2568, 08:00 - 31 ก.ค. 2568, 17:00

ผู้ให้บริการทางธุรกิจ

logo
อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

โทรศัพท์มือถือ :

0818832696

โทรศัพท์อื่นๆ :

053875635

อีเมล :

maejoagrofoodpark@gmail.com

เว็บไซต์ :

https://www.mju.ac.th/th/

ที่อยู่ :

63 ม.4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290

เว็บไซต์สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น
เราจึงขอให้ท่านยินยอมสำหรับการใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ข้อกำหนดเว็บไซต์ และนโยบายความเป็นส่วนตัว