ระบบ ERP พัฒนากระบวนการทำงาน สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม

banner
banner

ข้อมูลบริการ

  • การเพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพธุรกิจ
-
-

รายละเอียดบริการ

ข้อมูลบริการ

ERP เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการบริหารจัดการองค์กร เพื่อเชื่อมโยงการทำงานในส่วนงานต่างๆ เข้าด้วยกัน  ในปัจจุบันนี้ แม้จะมีการใช้ ERP อย่างแพร่หลายในระดับหนึ่งแล้ว แต่ปัญหาที่ยังพบอยู่เสมอ คือ กระบวนการพื้นฐานในการทำงานของโรงงานภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะฝ่ายผลิต ฝ่าย QC ไม่ได้ถูกบันทึกบนระบบ ERP ทั้งนี้ เนื่องจาก ERP ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ไม่น้อย เป็น ERP ที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจภาคการค้า แต่ขาดโมดูลพื้นฐาน สำหรับ ภาคอุตสาหกรรม อาทิเช่น การเปิดใบสั่งผลิต , การเบิกวัตถุดิบ เข้าสู่กระบวนการผลิต , การรับสินค้าที่ได้รับจากกระบวนการผลิต, การบันทึกผลการตรวจสอบคุณภาพ (QC) มิได้กระทำบนระบบ ERP เดียวกับส่วนงานอื่น แต่ถูกบันทึกด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย และ การขาดความเชื่อมโยงนี้ส่งปัญหาหลายประการที่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมักพบเจอ (แม้จะใช้ ERP อยู่แล้ว) เช่น
- Stock ยังบันทึกได้ ไม่ครบถ้วน ขาดกระบวนการแปรรูปที่เกี่ยวข้องกับการผลิต รวมถึงการสะสมต้นทุนในกระบวนการผลิต (ทั้งนี้ เพราะกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ไม่ได้ถูกบันทึกบนระบบ ERP)
- ขาดความเชื่อมโยงของข้อมูลระหว่างฝ่ายผลิต กับส่วนงานอื่น
- ไม่สามารถติดตามการทำ Lot Traceability ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
- ไม่สามารถรับรู้ต้นทุนในการผลิตของแต่ละ Lot การผลิตได้ รู้เพียงต้นทุนคร่าวๆ ทั้งโรงงาน
การพัฒนากระบวนการทำงาน ด้วยระบบ ERP สำหรับภาคอุตสาหกรรมโรงงาน จะเป็นส่วนหนึ่งเสริมให้ งานของฝ่ายผลิต กับส่วนงานอื่นๆ ของโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นเอกสารของส่วนฝ่ายจัดซื้อ, ฝ่ายขาย, ฝ่ายบัญชี-การเงิน, ฝ่ายคลังสินค้า, ฝ่ายผลิต, ฝ่าย QC (ถ้ามี) เชื่อมโยงบน ERP ระบบเดียวกัน ลดความผิดพลาดในกระบวนการทำงาน อันเกิดจากข้อมูลส่วนงานผลิต แยกส่วนจากส่วนงานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น โรงงานที่เคยใช้ ERP มาก่อน (แต่ไม่ถูกประเภท) หรือไม่เคยใช้ระบบ ERP เลย ต่างสามารถได้รับประโยชน์จากบริการนี้


ประโยชน์ของบริการ

โดยปกติระบบ ERP ทั่วไป (เช่น ERP สำหรับภาคบริการที่ไม่มีสต็อก หรือ ERP สำหรับธุรกิจซื้อมาขายไป ที่ไม่มีการแปรรูปวัตถุดิบ)  ที่ไม่ใช่ ERP ภาคอุตสาหกรรม จะไม่มีเรื่องพวกนี้
1. อาจจะมีการควบคุมสินค้า-วัตถุดิบ โดยใช้ Lot No. ได้ แต่จะไม่ได้ลงลึกถึงฐานข้อมูล ที่สามารถใส่รายเอียดอื่นๆ เพิ่มเติมได้
2. การควบคุมสินค้า-วัตถุดิบ ไม่สามารถลงลึกไปถึงระดับ Serial No. ได้
3. การทำสูตรการผลิต (BOM) อาจจะทำได้แค่เพียง List รายการวัตถุดิบแบบง่ายๆ จะไม่สามารถลงลึกไปถึง
- รายการวัตถุดิบ ระบุต้นทุน
- รายละเอียดขั้นตอนการผลิตของแต่ละกระบวนการ
- รายละเอียดการตรวจสอบ (QC) ของกระบวนการ
- รายละเอียดต้นทุนจากกระบวนการผลิต ที่นอกเหนือจากวัตถุดิบ
4. ระบบบันทึกผลการทดสอบ (QC) หลังจากที่ผลิตเสร็จ เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ง่ายขึ้น และยังสามารถออกเป็น COA ให้ลูกค้าได้อีกด้วย
5. ระบบคลัง ที่รองรับ Multi Warehouse ลงลึกถึงระดับ ที่เก็บ และยังสามารถเชื่อมโยงกับเอกสาร เพื่อให้จัดการกับ สินค้า-วัตถุดิบ ไปเก็บตามที่เรากำหนดได้ อัตโนมัติ
6. การรับรู้ต้นทุนระดับ Job No. ผลิตเสร็จสะสมต้นทุนไปเท่าไหร่ ส่งต่อไปที่ Job ไหนบ้าง ระบบจะสะสมต้นทุนไปเรื่อยๆ จนกระบวนการสุดท้าย เพื่อให้ทราบถึงต้นทุน ที่แท้จริง
7. การทำ Lot Traceability เป็นอีกข้อสำคัญที่หลายๆ ประเภทโรงงานอุตาหกรรมต้องมี เนื่องด้วยข้อกำหนดบังคับของมาตราฐานต่างๆ เพื่อให้ตรวจสอบ ที่มา ที่ไป ของสินค้า-วัตถุดิบ ได้อย่างละเอียด
8. ในการทำงานของฝ่ายบัญชี โดยปกติแล้ว หากมีการซื้อ-ขาย ต่างประเทศ ซึ่งจะมีการใช้สกุลเงินต่างประเทศ และต้องคำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเวลาที่บันทึกบัญชี ทางฝ่ายบัญชี ต้องแปลงอัตราแลกเปลี่ยนจากสุกลเงินเหล่านั้นกลับมาเป็นเงินบาท เพื่อลงบัญชี ทำให้การทำงานเกิดความซับซ้อน ใช้เวลามากกว่าปกติ ระบบ Multi-Currency ที่รองรับสกุลเงินต่างประเทศได้ไม่จำกัดสกุลเงิน ในระบบ PEAR สามารถบันทึกสกุลเงินและอัตราแลกเปลี่ยนใน Invoice ซื้อ/ขาย โปรแกรมคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนและลงบัญชีให้อัตโนมัติได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ลดภาระการทำงานให้ฝ่ายบัญชี
9. ผู้บริหารอยากดู ค่าใช้จ่ายของแต่ละแผนก ถ้าระบบไม่ได้ช่วยแยกข้อมูลส่วนนี้ได้ ฝ่ายบัญชีจะต้องไปแยกข้อมูลค่าใช้จ่าย แต่ละรายการเอง ในระบบ PEAR จึงถูกออกแบบมาให้ทุกเอกสารสามารถใช้ แผนก, โครงการ ควบคุม เพื่อแยกข้อมูลให้ทางฝ่ายบัญชีทำง่ายขึ้น สามารถออกงบการเงิน แยกแผนก, โครงการหลายมิติได้ ตามที่ผู้บริหารต้องการ
10. เรามีลูกค้าในประเทศ, ต่างประเทศ แต่การบันทึกบัญชีในระบบทั่วไป ก็จะลงบันทึกบัญชีเป็นบัญชี ลูกหนี้การค้า เหมือนกัน หากต้องการแยกในประเทศ, ต่างประเทศ ทางฝ่ายบัญชี ต้องไปทำการแยกบัญชีเอง ทำให้ยุ่งยากในการทำงาน ในระบบ PEAR ถูกออกแบบมาให้รองรับการบันทึกบัญชี ระดับรายตัว, รายกลุ่ม (สินค้า, ลูกหนี้, เจ้าหนี้) เพื่อให้ฝ่ายบัญชีสามารถกำหนดได้ตั้งต้นว่าลูกค้ากลุ่มไหน ผูกกับบัญชีอะไร
11. มีรายงานวิเคราะห์ในรูปแบบ Listing, Pivot ที่รูปแบบคล้าย Excel และยังสามารถ Export เพื่อไปทำต่อนอกระบบได้
12. มีระบบ Export เอกสารสำคัญหลายประเภท เพื่อรองรับการเชื่อมโยงกับ ระบบบบภายนอกอื่นๆ
13. สามารถออกแบบ แบบฟอร์ม, รายงานวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้ในเอกสารต่างๆได้ง่ายๆ จากเครื่องมือสร้างรายงาน ที่มีมาให้ในระบบ
14. สามารถจำกัดการสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของบัญชีผู้ใช้แต่ละ account ได้เพื่อลดความผิดผลาดในการคีย์งานที่อาจเกิดขึ้น

ขั้นตอนการให้บริการ

1. ผู้ประกอบการติดต่อเพื่อขอรับข้อเสนอบริการ
2. สัมภาษณ์ ผู้บริหาร / ฝ่ายบริหารจัดการโรงงาน / ฝ่ายต่างๆ ของโรงงาน เพื่อสำรวจขั้นตอนการทำงานเดิมของโรงงาน และให้คำแนะนำวิธีลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น เมื่อนำระบบ ERP มาใช้
3. อบรมการใช้งาน ERP ให้กับส่วนงานต่างๆ ของโรงงาน 
4. ปรับปรุงแบบฟอร์มการทำงาน พื้นฐาน บนระบบ ERP ให้สอดคล้องกับโรงงาน (ไม่เกิน 5 แบบฟอร์ม)
5. นำเข้าฐานข้อมูลที่จำเป็นเบื้องต้น (ถ้ามี) เช่น ฐานข้อมูลลูกค้า, ผู้จำหน่าย, สินค้า, วัตถุดิบ, สูตรการผลิต, ผังบัญชี เข้าสู่ระบบ ERP
6. ผู้ประกอบการเริ่มบันทึกข้อมูลจริงบนระบบ ERP
7. สรุปผลการดำเนินงาน

สิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับ

1. สิทธิ์การใช้ระบบ ERP สำหรับภาคอุตสาหกรรมโรงงานผ่านระบบ Cloud Service เป็นเวลา 12 เดือน มาพร้อม Login การใช้งาน 4 Login (หากสิทธิ์การเข้าใช้งานเท่ากัน ตัวระบบอนุโลมให้ ผู้ใช้งาน มากกว่า 1 คน สามารถใช้ Login เดียวกัน ทำงาน จากคนละเครื่องได้พร้อมกัน (โดยการเก็บประวัติการใช้งาน จะมีการเก็บทั้ง Login และ ชื่อเครื่องที่เข้าใช้งาน คู่กัน)
โดยจะมีระบบต่างๆดังนี้
- ระบบการสร้างใบขอซื้อ (PR) อัตโนมัติ (MRP)
- ระบบการผลิต, ควบคุมการผลิต (MRP)
- ระบบคำนวณต้นทุนการผลิต
- ระบบตรวจสอบคุณภาพ (QC) รองรับการออก COA จากระบบ
- ระบบการบริหารคลังสินค้า/วัตถุดิบ แบบ Multi Warehouse
- ระบบการบริหารการจัดซื้อ
- ระบบการบริหารการขาย
- ระบบการอนุมัติเอกสาร
- ระบบสกุลเงินตราต่างประเทศ
- ระบบการเงินระบบเจ้าหนี้
- ระบบการเงินระบบลูกหนี้
- ระบบการเงินระบบเช็คธนาคาร
- ระบบบัญชีแยกประเภท
- ระบบสินทรัพย์
- ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม/หัก ณ ที่จ่าย
2. แบบฟอร์มเอกสารพื้นฐาน สำหรับธุรกิจของตน ที่สามารถสั่งพิมพ์ออกจากระบบ ERP เช่น ใบกำกับภาษี , ใบเสร็จรับเงิน, ใบสั่งผลิต, ใบเบิกวัตถุดิบ, ใบสั่งซื้อ (PO) หรือ แบบฟอร์มอื่นๆ จากระบบ ERP เป็นต้น (รวมแล้วไม่เกิน 5 แบบฟอร์ม)
3. รายงานมาตรฐานบนระบบ ERP เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน จำนวน 20 รายงาน
4. ให้คำปรึกษาและอบรมวิธีการใช้ระบบรวม 10 ครั้ง

อัตราค่าบริการ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

เหมาะสำหรับธุรกิจขนาด Size M ขึ้นไป 
- ระยะเวลาใช้งาน 12 เดือนแรก
  จำนวนเข้าใช้งาน 4 Users
  ค่า Software 180,000 บาท/12 เดือน
  ค่า Implement 170,000 บาท/10 ครั้ง (เฉพาะครั้งแรก)
  รวมทั้งสิ้น 350,000 บาท

- ระยะเวลาใช้งาน 12 เดือนถัดไป
  จำนวนเข้าใช้งาน 4 Users
  ค่า Software 180,000 บาท/12 เดือน

* ราคา Implement ข้างต้น เป็นราคาเฉพาะในระยะทางจาก กทม. ไม่เกิน 200 ก.ม.
** กรณีเดินทางจาก กทม. เกิน 200 ก.ม. จะคิด Onsite 18,000 - 25,000 บาท/ครั้ง ขึ้นอยู่กับระยะทาง

คำค้น (Keyword)

management ERP ระบบบริหารจัดการ

สาขาที่ให้บริการ

สำนักงานใหญ่

ข้อมูลในการติดต่อ

คะแนน 5/5


ระบบบริการ

฿320,000 - ฿400,000

เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ SME

กิจกรรมที่เข้าร่วม

การบริหารจัดการ การเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ

วันที่ยื่นข้อเสนอ :

01 ม.ค. 2568, 08:00 - 31 ก.ค. 2568, 17:00

รีวิวจากผู้ประกอบการ

คะแนน

5

ผู้ให้บริการทางธุรกิจ

logo
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

โทรศัพท์มือถือ :

0917177624

โทรศัพท์อื่นๆ :

023451049

อีเมล :

phakphumm@fti.or.th

เว็บไซต์ :

https://fti.or.th/

ที่อยู่ :

เลขที่ 2 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

เว็บไซต์สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น
เราจึงขอให้ท่านยินยอมสำหรับการใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ข้อกำหนดเว็บไซต์ และนโยบายความเป็นส่วนตัว