บริการเตรียมความพร้อมเพื่อรับรองเครื่องหมายทางเลือกสุขภาพ (Healthier Choice)-BF11

banner

ข้อมูลบริการ

  • การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ
-
-

รายละเอียดบริการ

คำอธิบายบริการ

บริการเตรียมความพร้อมเพื่อรับรองเครื่องหมายทางเลือกสุขภาพ (Healthier Choice)

  • ปรับปรุงสูตรผลิตภัณฑ์ในห้องปฏิบัติการเพื่อให้ได้ค่ามาตรฐานที่กำหนด (น้ำตาล ไขมัน โซเดียม)
  • ทดสอบคุณภาพทางกายภาพของผลิตภัณฑ์
  • ตรวจวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ (ฉลากอาหารแบบย่อ/แบบเต็ม) และฉลาก GDA
  • ดำเนินการยื่นขอรับรองการใช้สัญลักษณ์ทางเลือกเพื่อสุขภาพ (Healthier Choice))  

บริการหลัก 

บริการเตรียมความพร้อมผลิตภัณฑ์เพื่อยื่นขอรับรองอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพ (Healthier choice)

บริการร่วม 

ตรวจวิเคราะห์ฉลากโภชนาการ / ความปลอดภัยอาหาร

สิ่งที่ส่งมอบ

1. รายงานผลการเตรียมความพร้อมผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานกำหนด 

2. ฉลากโภชนาการแบบย่อ* / แบบเต็ม* และฉลาก GDA 

3. ได้รับรองการใช้สัญลักษณ์ทางเลือกเพื่อสุขภาพ (Healthier Choice)

ขั้นตอนการให้บริการ 

  • ตรวจวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ และรายละเอียดส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการยื่นขอ Healthier choice และประเมินผลตรวจวิเคราะห์ตามเกณฑ์กำหนด
  • ทดลอง ทดสอบ กระบวนการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ในห้องปฏิบัติการ พร้อมทดสอบชิมทางประสาทสัมผัส 2-3 ครั้ง เพื่อเปรียบเทียบและดูการยอมรับด้านกายภาพ
  • ส่งตรวจวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการปรับปรุงพัฒนาให้เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพ
  • สรุปผลการปรับปรุงสูตรและกระบวนการผลิตและเตรียมตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการปรับปรุงเพื่อส่งตรวจวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ/ความปลอดภัยอาหาร
  • จัดทำรายงานผลการตรียมความพร้อมเพื่อยื่นขอการรับรอง Healthier Choice
  • จัดเตรียมเอกสารให้ผู้ประกอบการ เพื่อขึ้นทะเบียนรับรองสัญลักษณ์ทางเลือกเพื่อสุขภาพ

หมายเหตุ :

1.      ค่าบริการตลอดระยะโครงการ ขึ้นอยู่กับขอบข่ายของผลิตภัณฑ์ ตามข้อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อย. หากมีรายการตรวจวิเคราะห์ที่เกินจากวงเงินสนับสนุน ผู้ประกอบการจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนเกิน โดยเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ประกอบการทราบค่าใช้จ่ายส่วนเกินก่อนการดำเนินงาน

2.      ค่าบริการตลอดระยะโครงการ ไม่รวมค่าเช่าเทคโนโลยี และค่าวัตถุดิบหลักในกระบวนการผลิต 

คุณสมบัติพื้นฐานที่จำเป็นของผู้รับบริการ  

ผลิตภัณฑ์จะต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามประกาศฯ 13 กลุ่มอาหาร ดังนี้

  1. กลุ่มอาหารมื้อหลัก (Meal)
  2. กลุ่มเครื่อดื่ม (Beverage)
  3. กลุ่มเครื่องปรุงรส (Seasoning)
  4. กลุ่มผลิตภัณฑ์นม (Dairy product)
  5. กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป (Instant food)
  6. กลุ่มขนมขบเขี้ยว (Snack)
  7. กลุ่มไอศกรีม (Ice cream)
  8. กลุ่มน้ำมันและไขมัน (Fat and oil)
  9. กลุ่มขนมปัง (Bread)
  10. กลุ่มอาหารเช้าธัญพืช (Breakfast cereal)
  11. กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมอบ (Bakery products)
  12. กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารว่าง (Small meal)
  13. กลุ่มผลิตภัณฑ์จากปลา และอาหารทะเล (Fish and other aquatic products)

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ฝ่ายนวัตกรรมอาหาร 

โทร : 0-2422-8688   สรินทร ต่อ 2112, นิภาพร  ต่อ 2117, มยุรา ต่อ 9401,  สตินันท์ ต่อ 2106, 

E-mail : nfi_innovation@nfi.or.th 

Line :  @ nfithailand หรือ https://lin.ee/vW07JSa

สาขาที่ให้บริการ

สำนักงานใหญ่

ข้อมูลในการติดต่อ

คะแนน 4/5


ระบบบริการ

฿89,000 - ฿100,000

เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ SME

กิจกรรมที่เข้าร่วม

การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ

วันที่ยื่นข้อเสนอ :

01 ม.ค. 2568, 08:00 - 31 ก.ค. 2568, 17:00

รีวิวจากผู้ประกอบการ

คะแนน

4

ผู้ให้บริการทางธุรกิจ

logo
สถาบันอาหาร

โทรศัพท์มือถือ :

0983688638

โทรศัพท์อื่นๆ :

024228688 ต่อ 8102

อีเมล :

bds@nfi.or.th

เว็บไซต์ :

www.nfi.or.th

ที่อยู่ :

2008 ซอยอรุณอมรินทร์ 36 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

เว็บไซต์สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น
เราจึงขอให้ท่านยินยอมสำหรับการใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ข้อกำหนดเว็บไซต์ และนโยบายความเป็นส่วนตัว