9. บริการตรวจคุณภาพโรงงาน + ทดสอบผลิตภัณฑ์

banner
banner
banner
banner
banner
banner

ข้อมูลบริการ

  • การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ
-
-

รายละเอียดบริการ

บริการทดสอบผลิตภัณฑ์  เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SME ที่เป็นผู้ผลิตในประเทศไทย ทดสอบผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐาน อาทิ มอก., เบอร์ 5, กสทช, IEC, EN และมาตรฐานอื่นๆ ทางด้านไฟฟ้า เพื่อเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถเข้าสู่ตลาดได้ด้วยการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามมาตรฐาน  โดยให้บริการทดสอบผลิตภัณฑ์ดังนี้

  • Household appliance
  • Lighting equipment
  • Toys and Children product
  • Battery
  • Electronic equipment
  • IT equipment
  • EV Charging Station
  • Acoustic & Sound Testing
  • Medical equipment
  • Telecommunication product
  • Automotive testing
  • UPS
  • EMC Testing
  • Metering equipment
  • Cable / Optical Fiber
  • Plug
  • Switch
  • Plugs and socket-outlets for household
  • Stanby Power Testing
  • Environmental Testing
  • Chemical & RoHS
  • EGAT No.5
  • DLT : กรมการขนส่งทางบก
  • อื่นๆ


วัตถุประสงค์ของบริการ
สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  เป็นสถาบันอิสระที่กระทรวงอุตสาหกรรม จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี 
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2541  โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพมหานคร  และศูนย์ปฏิบัติการและมาตรฐาน 
ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู ซอย 8D  จังหวัดสมุทรปราการ  วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง เนื่องจากรัฐบาล
ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ให้มีขีดความสามารถ
ในการแข่งขันบนเวทีการค้าโลกได้  จึงได้จัดตั้งสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับการให้บริการทดสอบ 
กับทั้งทางหน่วยงานภาครัฐ และ ภาคเอกชน  ในการพั ฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยให้ได้มีคุณภาพ
ตามมาตรฐาน  สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกต่อไป

ขั้นตอนการดำเนินงาน
ผู้รับบริการแจ้งรายการผลิตภัณฑ์และมาตรฐานที่ต้องการทดสอบ  ให้สถาบันฯ ประเมินและวิเคราะห์เบื้องต้น เมื่อเข้าสู่กระบวนการ ผู้รับบริการสามารถจัดส่งผลิตภัณฑ์เพื่อเข้ารับบริการได้ทันที

รูปแบบการดำเนินงาน
การทดสอบผลิตภัณฑ์ จะดำเนินการทดสอบตามมาตรฐาน ณ ห้องปฏิบัติการและมาตรฐาน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (นิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ) โดยระยะเวลาในการทดสอบนั้นจะขึ้นกับมาตรฐานการทดสอบ, ชนิดและความสมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้กระบวนการทดสอบจะแล้วเสร็จภายในระยะเวลาโครงการ (เดือนกันยายน)

สิ่งที่ได้รับ
รายงานผลการทดสอบผลิตภัณฑ์ (Test Report) ที่รับรองโดย ห้องปฎิบัติการและมาตรฐาน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งสามารถนำรายงานผลดังกล่าวไปอ้างอิงกับหน่วยงานที่ออกใบอนุญาตเพื่อขอออกใบอนุญาต
ในการจำหน่าย/นำเข้าผลิตภัณฑ์นั้นๆ ต่อไป

ประโยชน์ที่ผู้รับบริการจะได้รับ
ห้องปฎิบัติการและมาตรฐาน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับการรับรองตามมาตรฐานระบบ ISO/IEC 17025:2017  ทำให้ผลลัพธ์และรายงานผลที่ได้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ผู้รับบริการสามารถนำรายงานผลไปยื่นขอการรับรองกับหน่วยงานต่างๆ ได้ อาทิ สมอ., กฟภ., กสทช., กรมการขนส่งทางบก เป็นต้น  อีกทั้งศักยภาพ ความรู้ ความสามารถของบุคลากร เครื่องมือที่ใช้ และกระบวนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ทำให้มั่นใจได้ว่า ผลการทดสอบที่ได้ มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ  และถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์สามารถแข่งขันในตลาดได้ เพิ่มขีดความสามารถทางธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ไทยเป็นที่ยอมรับในประเทศหรือต่างประเทศมากขึ้น


============================================================================================================


บริการตรวจคุณภาพโรงงาน

หน่วยตรวจสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับการรับรองการบริหารงานด้วยระบบคุณภาพ ISO/IEC 17020:2012 มีประสบการณ์และความชำนาญเฉพาะด้าน มานานกว่า 20 ปี มีความรวดเร็วมีประสิทธิภาพสูงและมีความเป็นกลางในการดำเนินงานและความชำนาญเฉพาะด้านสามารถให้บริการประเมินโรงงานทั้งในและต่างประเทศ ดังนี้  มอก. ของ สมอ., VDE ของประเทศเยอรมัน, JET และ JQA ของประเทศญี่ปุ่น, CEBEC ของประเทศเบลเยี่ยม, FIMKO ของประเทศฟินแลนด์, OVE ของประเทศออสเตรีย, ตรวจประเมินโครงการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ (BOI), PPA ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) และ EEI  ของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน

• รับคำขอบริการจากหน่วยรับรองผลิตภัณฑ์ สมอ., VDE, JET, JQA, CEBEC, FIMKO และ OVE หรือผู้ยื่นคำขอประสงค์จะให้ตรวจสอบร้องขอมา ได้แก่ BOI, PEA และ EEI ของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

• ทบทวนคำขอรับบริการ,ผลิตภัณฑ์, มาตรฐาน,รูปแบบการรับรอง และ เอกสารอื่นๆ

• ตรวจประเมินโรงงานตามข้อกำหนดต่างๆ ณ สถานประกอบการ

• สุ่มตัวอย่างเพื่อทดสอบ/การ onsite witness ผลิตภัณฑ์

• ทบทวนผลการตรวจโรงงานและผลการทดสอบผลิตภัณฑ์

• จัดทำผลการตรวจโรงงานและผลการทดสอบผลิตภัณฑ์

• ส่งผลการตรวจโรงงานและผลการทดสอบไปยังหน่วยรับรองผลิตภัณฑ์นั้นๆ

• ตรวจติดตามประจำปีขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของหน่วยรับรองผลิตภัณฑ์

 

รูปแบบการดำเนินการ

    ๅ. VDE , JET , FIMKO , CEBEC, OVE

  • ขอบข่ายประเภทผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

          การตรวจสอบเพื่อการอนุญาตและติดตามผล  ดำเนินการตามแนวทางของมาตรฐาน ISO/IEC 17020  ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก  ได้แก่
          1. การอนุญาต   (Pre-License Inspection)   
          2. การตรวจติดตามภายหลังการอนุญาต   (Routine Inspection)

  • Pre-License Inspection
    คือ การตรวจโรงงานครั้งแรก  (Pre-License Inspection)   มีการตรวจประเมินระบบบริหารการควบคุมคุณภาพ  กระบวนการผลิต  และ  การรักษาคุณภาพสินค้า
    ให้ได้ตามมาตรฐานของแต่ล่ะหน่วยรับรองผลิตภัณฑ์นั้นๆ และทางผู้ยื่นขอการรับรองจะเป็นผู้นำส่งตัวอย่างไปยังหน่วยรับรองผลิตภัณฑ์เพื่อทำการทดสอบต่อไป
  • Routine Audit
    หลังจากผู้ยื่นขอการรับรอง ได้รับใบอนุญาตจะมีการตรวจติดตามประจำปี  (Routine Inspection) เพื่อตรวจสอบคุณภาพระบบคุณภาพในการผลิตสินค้าและกระบวนการผลิต โดยจะมีการสุ่มตัวอย่าง (Sample Sampling) ตามจำนวนที่กำหนดไว้เพื่อทำการทดสอบ ว่าทั้งกระบวนการผลิตและคุณภาพสินค้ายังคงเป็นไป
    ตามมาตรฐานเช่นเดิม

 

      2. มอก. ของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)  

         การตรวจสอบเพื่อการอนุญาตและติดตามผล  ดำเนินการตามแนวทางของมาตรฐาน ISO/IEC 17020  
 ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก  ได้แก่
         1. การอนุญาต   
         2. การตรวจติดตามภายหลังการอนุญาต  

         รูปแบบการอนุญาต มี 2 แบบ  ประกอบไปด้วย  

  • ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เกณฑ์การพิจารณา คือ ผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ยื่นขอทุกรายการ
  • โรงงานที่ทำผลิตภัณฑ์มีระบบการควบคุมคุณภาพเพียงพอที่จะรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นไป  ตามมาตรฐานได้อย่างสม่ำเสมอ
  • การตรวจประเมินระบบควบคุมคุณภาพของโรงงานที่ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ตามประเภทอุตสาหกรรมดังนี้

1.  ประเภทผลิตภัณฑ์บริภัณฑ์ส่องสว่าง

2.  ประเภทผลิตภัณฑ์ไฟฟ้ากำลัง

3.  ประเภทผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

4.   ประเภทผลิตภัณฑ์เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์

 

      3. EEI   ของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 

  • ขอบข่ายประเภทผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

          การตรวจสอบเพื่อการอนุญาตและติดตามผล  ดำเนินการตามแนวทางของมาตรฐาน ISO/IEC 17065  ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก  ได้แก่
          1. การอนุญาต  (Pre-Certification)   
          2. การตรวจติดตามภายหลังการอนุญาต   (Routine Audit)

  • Pre-Certification
    คือ การตรวจโรงงานครั้งแรก  (Pre-Certification)   มีการตรวจประเมินระบบบริหารการควบคุมคุณภาพ  กระบวนการผลิต  และ  การรักษาคุณภาพสินค้า
    ให้ได้ตามมาตรฐานของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  และทางผู้ยื่นขอการรับรองจะเป็นผู้นำส่งตัวอย่างมายังสถาบันไฟฟ้าฯ  เท่านั้นเพื่อทำการทดสอบต่อไป
  • Routine Audit
    หลังจากผู้ยื่นขอการรับรอง ได้รับใบอนุญาตจะมีการตรวจติดตามประจำปี  (Routine Audit) เพื่อตรวจสอบคุณภาพระบบคุณภาพในการผลิตสินค้าและกระบวนการผลิต โดยจะมีการสุ่มตัวอย่าง (Sample Sampling) ตามจำนวนที่กำหนดไว้เพื่อทำการทดสอบ ว่าทั้งกระบวนการผลิตและคุณภาพสินค้ายังคงเป็นไปตามมาตรฐานเช่นเดิม

 

      4. BOI  5.6.1,  BOI 5.6.2,  BOI 5.7

  • เป็นการตรวจประเมิน การส่งเสริมการลงทุนประเภท การออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์  และ ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องจากการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ 
    เพื่อขอสิทธิและประโยชน์กับทางจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
  • เมื่อทางบริษัท ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)  สามารถนัดหมายตรวจประเมินการส่งเสริม การลงทุน จากสถาบันไฟฟ้าฯ เพื่อรับรองสิทธิและประโยชน์ เช่น  ยกเว้นภาษีนิติบุคคลสูงสุดนานถึง 8 ปี   ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก  (มาตรา 36)  เป็นต้น



      5. PEA-EEI  ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)

         การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. ได้พัฒนาหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนและรับรองผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้สำหรับการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ที่มีการจัดหามาใช้ในกิจการของ กฟภ.  เพื่อเป็นการยกระดับผู้ประกอบการให้สามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์ รักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามหลักการสากล เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ กฟภ. สามารถพัฒนาระบบจำหน่ายไฟฟ้าให้มีเสถียรภาพ เป็นไปตามนโยบายและภาระกิจของ กฟภ. 

          การตรวจสอบเพื่อการขึ้นทะเบียนและการรับรองผลิตภัณฑ์ เป็นการตรวจประเมินคุณภาพของการดำเนินงานในโรงงานตามที่ผู้ยื่นขอการรับรอง ยื่นขอกับทางสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

          การตรวจสอบณ สถานประกอบการของผู้ผลิต และ/หรือ โรงงาน เพื่อการขึ้นทะเบียนและการรับรองผลิตภัณฑ์  ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก  ได้แก่
          1. การตรวจประเมินระบบควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์     
          2. การตรวจติดตามผล   

  • การตรวจประเมินระบบควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์
    หน่วยรับรองจะตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ตาม หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนและรับรองผลิตภัณฑ์ และ หลักเกณฑ์การตรวจประเมินรายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ณ ผู้ผลิต หรือ โรงงาน
  • การตรวจติดตามผล
    หน่วยรับรองผลิตภัณฑ์กำหนดการตรวจติดตามผลการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างน้อยปีละ  1 ครั้ง หรือตามความเหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ได้รับการรับรองสามารถควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง และผลิตภัณฑ์ยังเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ระเบียบ ข้อกำหนดและมาตรฐานที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ
  • การตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ เพื่อการขึ้นทะเบียนและรับรองผลิตภัณฑ์ตามประเภทผลิตภัณฑ์ (PEA Product Acceptance) ดังนี้

         1. ผลิตภัณฑ์หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

         2. ผลิตภัณฑ์มิเตอร์ไฟฟ้า

         3. ผลิตภัณฑ์ลูกถ้วยไฟฟ้า


สิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับ

      รายงานผลการตรวจประเมินคุณภาพโรงงาน ผลการทดสอบผลิตภัณฑ์หรือผลการประเมินความสอดคล้องตามเกณฑ์ ข้อกำหนดของหน่วยรับรองผลิตภัณฑ์นั้นๆ หรือตามมาตรฐานที่กำหนด ที่รับรองโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งสามารถนำรายงานผลดังกล่าวไปอ้างอิงยังหน่วยตรวจเพื่อขอออกใบอนุญาตในการผลิตผลิตภัณฑ์และนำเข้าผลิตภัณฑ์นั้นๆ ต่อไป
 

ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับ

  1. สามารถผลิตสินค้าได้มีมาตรฐานตรงตามที่กฎหมายกำหนด
  2. ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่น และมั่นใจในการใช้งานผลิตภัณฑ์ได้อย่างปลอดภัยและมีคุณภาพ
  3. เข้าสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว
  4. เป็นที่ยอมรับภายในประเทศ กลุ่มประเทศอาเซียนและระดับสากล
  5. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาด

คำค้น (Keyword)

มอก. ทดสอบ ตรวจโรงงาน

สาขาที่ให้บริการ

ศูนย์ปฏิบัติการและมาตรฐาน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ข้อมูลในการติดต่อ

เอกสารดาวน์โหลด

คะแนน 5/5


ระบบบริการ

฿50,000 - ฿500,000

เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ SME

กิจกรรมที่เข้าร่วม

การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ

วันที่ยื่นข้อเสนอ :

01 ม.ค. 2568, 08:00 - 31 ก.ค. 2568, 17:00

รีวิวจากผู้ประกอบการ

คะแนน

5

ผู้ให้บริการทางธุรกิจ

logo
สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

โทรศัพท์มือถือ :

0809566959

โทรศัพท์อื่นๆ :

-

อีเมล :

alisa@thaieei.com

เว็บไซต์ :

www.thaieei.com

ที่อยู่ :

เลขที่ 57 ชั้น 6 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม ถนนพระสุเมรุ(บางลำภู) แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

เว็บไซต์สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น
เราจึงขอให้ท่านยินยอมสำหรับการใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ข้อกำหนดเว็บไซต์ และนโยบายความเป็นส่วนตัว