วัตถุประสงค์ของบริการ
1. เพื่อประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ หรือองค์กร
2. เพื่อนำข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปขอฉลาก Carbon footprint ของผลิตภัณฑ์ หรือองค์กร
สิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับจากการดำเนินการให้คำปรึกษา Carbon footprint
1. รายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CFO หรือ CFP) จำนวน 1 ฉบับ
2. สถานประกอบการสามารถยื่นขอฉลากคาร์บอนได้จำนวน 1 ฉลาก
3. สถานประกอบการมีแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
สถานการณ์โลกในปัจจุบันมีความตื่นตัวต่อการดำเนินการทางด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยทางสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกามีนโยบายภาษีคาร์บอนข้ามพรมแดน หรือ CBAM โดยมีข้อกำหนดให้ผู้ดำเนินการส่งออกสินค้าสู่ประเทศปลายทางต้องสำแดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับผลิตภัณฑ์ (CFP) โดยเริ่มบังคับให้สำแดงในกลุ่ม 5+1 อุตสาหกรรมเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2566 รวมถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้บริษัทที่เข้าร่วมดำเนินการแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับองค์กร (CFO) ซึ่งทั้งสองส่วนส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทานให้ต้องดำเนินการในการจัดทำรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้สามารถดำเนินการทางธุรกิจกับบริษัทฯในตลาดหลักทรัพย์ หรือในตลาดส่งออกสู่สหภาพยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา อีกทั้งประเทศไทยได้ลงนามในสนธิสัญญาลดโลกร้อน
COP 26 ในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 40% ภายในปี พ.ศ. 2573
บริการ “การให้คำปรึกษาในการจัดทำคาร์บอนฟุตพรินท์ภายในสถานประกอบการ” เป็นการดำเนินการให้คำปรึกษาในการดำเนินการจัดทำรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product, CFP) หรือ การดำเนินการจัดทำคาร์บอนฟุตพรินท์ระดับองค์กร (Carbon Footprint for Organization, CFO) แก่สถานประกอบการตามข้อกำหนดการดำเนินการจัดทำรายงานขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) ซึ่งการดำเนินการจัดทำรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินการเพื่อสร้างโอกาสและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงทำให้สถานประกอบการทราบ baseline การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อเป็นแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไป
การบริการเป็นการดำเนินการเข้าให้คำปรึกษา ณ สถานประกอบการจำนวนไม่น้อยกว่า 4 Man-day และนอกสถานประกอบการไม่น้อยกว่า 6 Man-day โดยดำเนินการบรรยายการจัดทำรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CFO หรือ CFP) แก่สถานประกอบการ การจัดเตรียมข้อมูลและเอกสาร จากนั้นดำเนินการรวบรวมข้อมูล ตรวจวัด/ตรวจสอบข้อมูล เช่นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน scope 1 การปลดปล่อยทางตรง, scope 2 การปลดปล่อยทางอ้อม หรือ กระบวนการผลิต และนำเสนอแนวทางการวิเคราะห์จัดทำรายงานการคำนวณแก่สถานประกอบการ และดำเนินการวิเคราะห์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามข้อกำหนดของ TGO จัดทำรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Verification sheet) การจัดเตรียมเอกสารและข้อมูลสำหรับการทวนสอบ รวมถึงการวิเคราะห์ hotspot และเสนอแนะมาตรการหรือข้อแนะนำในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแก่สถานประกอบการ
ขั้นตอนการดำเนินการ
ผลลัพธ์ (Outcome)
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ SME
วันที่ยื่นข้อเสนอ :
01 ม.ค. 2568, 08:00 - 31 ก.ค. 2568, 17:00
4
โทรศัพท์มือถือ :
0809566959
โทรศัพท์อื่นๆ :
-
อีเมล :
alisa@thaieei.com
เว็บไซต์ :
www.thaieei.com
ที่อยู่ :
เลขที่ 57 ชั้น 6 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม ถนนพระสุเมรุ(บางลำภู) แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
เว็บไซต์สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น
เราจึงขอให้ท่านยินยอมสำหรับการใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ข้อกำหนดเว็บไซต์ และนโยบายความเป็นส่วนตัว