ให้บริการเป็นที่ปรึกษาสำหรับการคำนวณค่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of. Product: CFP) ของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมแปรรูปพลาสติก หรืออุตสาหกรรมอื่นที่มีการใช้ส่วนของพลาสติกเป็นองค์รประกอบ อาทิ วัสดุ บรรจุภัณฑ์ ชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ครอบคลุมตั้งแต่การจัดทำหลักสูตรการสอนภายใน In-house Training เพื่อเป็นพื้นฐาน สร้างการรับรู้ ความมีส่วนร่วม และมุ่งเป้าหมายเดียวกันภายในองค์กร การคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการผลิตภายในโรงงานจนกระทั่งได้สินค้าพร้อมส่งมอบ
1. วัตถุประสงค์
สถาบันพลาสติกเป็นหน่วยงานที่ปรึกษาเฉพาะทางทางด้านอุตสาหกรรมพลาสติก เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและนโยบายระดับประเทศ จึงได้สร้างบริการที่ปรึกษาสำหรับการการคำนวณค่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์ ให้บริการแก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลาสติก ที่มีความต้องการขับเคลือนองค์กรสู่ยุคอุตสาหกรรมที่คำนึกถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม และช่วยตอบโจทย์นโยบายระดับประเทศ Net Zero เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยภาคอุตสาหกรรมจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณคาร์บอนอย่างถูกต้อง
2. การพัฒนาและบริการ
การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ ทำการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ Cradle to Grave (Business-to-Customer: B2C) หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบจนถึงสิ้นสุดกระบวนการผลิตในโรงงาน Cradle to Gate (Business-to-Business: B2B) ประกอบไปด้วย กระบวนการได้มาซึ่งวัตถุดิบ และกระบวนการผลิต รวมไปถึงกระบวนการช่วยสนับสนุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่นับรวมปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากสำนักงาน การขนส่งผ่านท่อ การเดินทางของคนงาน และการขนส่งผลิตภัณฑ์ไปยังร้านค้าปลีก(ถ้ามี)
3. แนวทางการดำนเนินงาน
1 กำหนดเป้าหมายและขอบเขตการศึกษา
2 การวิเคราะห์บัญชีรายการข้อมูลตลอดวัฏจักรชีวิต
3 การประเมินผลกระทบ และการแปลผล
4 จัดทำรายงานสรุปผลการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์
5 นำเสนอผลการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ในขั้นตอนทวนสอบ ปรับปรุงหรือแก้ไขการวิเคราะห์บัญชีรายการข้อมูล การประเมินผลกระทบ และการแปลผล (ถ้ามี)
ลำดับ | กิจกรรม | w1 | w2 | w3 | w4 | w5 | w6 | w7 | w8 |
1 | กำหนดเป้าหมายและขอบเขตการศึกษา | ---- | |||||||
2 | การวิเคราะห์บัญชีรายการข้อมูลตลอดวัฏจักรชีวิต | ---- | ---- | ||||||
3 | การประเมินผลกระทบ และการแปลผล | ---- | ---- | ---- | ---- | ||||
4 | จัดทำรายงานสรุปผลการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ | ---- | ---- | ||||||
5 | นำเสนอผลการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ในขั้นตอนทวนสอบ ปรับปรุงหรือแก้ไขการวิเคราะห์บัญชีรายการข้อมูล การประเมินผลกระทบ และการแปลผล (ถ้ามี) | ---- |
4. สิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับ
เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ SME
วันที่ยื่นข้อเสนอ :
01 ม.ค. 2568, 08:00 - 31 ก.ค. 2568, 17:00
โทรศัพท์มือถือ :
0875153175
โทรศัพท์อื่นๆ :
02-3915340 ต่อ 212
อีเมล :
samart.m@thaiplastics.org
เว็บไซต์ :
https://www.thaiplastics.org/
ที่อยู่ :
อาคารกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 86/6 ซอยตรีมิตร แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
เว็บไซต์สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น
เราจึงขอให้ท่านยินยอมสำหรับการใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ข้อกำหนดเว็บไซต์ และนโยบายความเป็นส่วนตัว