สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ได้ออกแบบหลักสูตร โครงการการให้คำปรึกษาแนะนำ การจัดทำมาตรฐานการตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องจักรและอุปกรณ์ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการปฏิบัติงาน การที่เครื่องจักรอุปกรณ์ที่เดินเครื่องได้ดี มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้กระบวนการผลิตสินค้ามีคุณภาพ ลดการใช้พลังงาน บริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเป็นการลดการเสียของเครื่องจักร (Machine Breakdown) และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานในการตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน ด้วยการประยุกต์ใช้แนวทาง การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance) ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญของการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (TPM : Total Productive Maintenance) จะเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพการเดินเครื่องจักรและส่งผลให้เกิดผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพดี
การจัดทำมาตรฐานในการตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องจักร ด้วยแนวทางการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance) จะเป็นเครื่องมือให้ผู้ประกอบการ มีมาตรฐานในการตรวจสอบคุณภาพและบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างเป็นระบบมีขั้นตอนที่ชัดเจน ตามหลักการในการบริหารจัดการเครื่องจักรเชิงวิศวกรรม โดยมีการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของเครื่องจักร การจัดทำคู่มือเครื่องจักรอุปกรณ์ การตรวจสอบเครื่องจักร การทำความสะอาดการตรวจสอบ และบำรุงรักษาเครื่องจักร การปรับปรุงจุดบกพร่องของเครื่องจักร ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางการปรับปรุงเพื่อลดความผิดพลาด ลดของเสียที่เกิดขึ้น ทำให้กระบวนการผลิต กระบวนการปฏิบัติงาน เกิดคุณภาพที่สูงขึ้น
การจัดทำมาตรฐานในการตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องจักร ใช้แนวทางกิจกรรมกลุ่มปรับปรุงคุณภาพ (Small Group Activity) และ/หรือ แนวทางการปรับปรุงด้วยไคเซน (Kaizen) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของพนักงานเพื่อมีส่วนร่วมกันในการปรับปรุงเพื่อพัฒนาคุณภาพของกระบวนการ พัฒนาประสิทธิภาพของเครื่องจักร ลดความสูญเสีย ซึ่งจะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีอย่างสม่ำเสมอ เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่า แนวทางการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance) และการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (TPM : Total Productive Maintenance) จะนำไปสู่การประยุกต์ใช้เพื่อตอบสนองระบบบริหารตามมาตรฐาน ISO 55000 Asset Management ซึ่งเครื่องจักรและอุปกรณ์ถือเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่สำคัญขององค์กร
ขั้นตอนการให้คำปรึกษาแนะนำ (ระยะเวลาดำเนินการขึ้นอยู่กับประเด็นปรับปรุงและขอบเขตของงาน 5-8 วัน)
ขั้นตอนที่ 1 : การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลแนวทางในการจัดทำมาตรฐานการตรวจสอบและ
บำรุงรักษาเครื่องจักร (1 วัน)
ที่ปรึกษาลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการ เพื่อเก็บข้อมูลและร่วมพิจารณากับผู้บริหารและคณะทำงานองค์กรในการกำหนดขอบเขต เครื่องจักรและกระบวนการที่จะเป็นต้นแบบในการดำเนินการพัฒนาปรับปรุง ให้ความรู้ผู้บริหารและคณะทำงานขององค์กรในหลักการตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องจักร พิจารณาข้อมูลเครื่องจักร เช่น ข้อมูลแนวโน้มของเครื่องจักรเสีย ข้อมูลความสูญเสียที่เกิดจากการเดินเครื่องจักร ข้อมูลเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักร ประวัติการซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องจักร เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2 : การกำหนดแนวทางการจัดทำมาตรฐานในการตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องจักร (1-2 วัน)
ที่ปรึกษาให้ความรู้ผู้บริหารและพนักงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานและซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลัก ได้แก่ หน่วยงานวิศวกรรมซ่อมบำรุง หน่วยงานผลิต เป็นต้น ที่ปรึกษาให้คำปรึกษาแนะนำในการออกแบบมาตรฐานในการตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องจักรต้นแบบ มีการระบุประเด็นในการตรวจสอบ เกณฑ์และวิธีการตรวจสอบที่สำคัญ การทำความสะอาดและตรวจสอบ วิธีการบำรุงรักษาเครื่องจักร
ขั้นตอนที่ 3 : การทดสอบและนำไปใช้จริง ( 1-2วัน )
ทำการทดสอบการดำเนินการ ตามมาตรฐานการตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องจักร ตามที่ได้จัดทำขึ้น เพื่อจะได้เห็นประเด็นปัญหาประสิทธิภาพและข้อมูลที่สำคัญของเครื่องจักร ซึ่งจะได้นำไปสู่การปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการต่อไป
ขั้นตอนที่ 4 : การปรับปรุงพัฒนาการบำรุงรักษาเครื่องจักร ( 2-3 วัน )
นำข้อมูลและประเด็นปัญหาด้านประสิทธิภาพการเดินเครื่องจักรและคุณภาพของกระบวนการที่สำคัญเป็นลำดับต้น มาดำเนินการปรับปรุงเพื่อ ลดความสูญเสียหลักของเครื่องจักร ลดการใช้พลังงาน ลดของเสียและการแก้ไขงานเสียที่เกิดขึ้น ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดีขึ้น กระบวนการมีมาตรฐานในการผลิตการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพมากขึ้น เครื่องจักรสามารถเดินเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
สิ่งที่จะได้รับจากโครงการ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ฝ่ายปรึกษาแนะนำ
โทร : 0-2619-5500 ต่อ 585 คุณศาตพร
E-mail : sataporn@ftpi.or.th
Line : @ftpi
เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ SME
วันที่ยื่นข้อเสนอ :
01 ม.ค. 2568, 08:00 - 31 ก.ค. 2568, 17:00
โทรศัพท์มือถือ :
0832275836
โทรศัพท์อื่นๆ :
026195500 ต่อ 573
อีเมล :
bds@ftpi.or.th
เว็บไซต์ :
www.ftpi.or.th
ที่อยู่ :
เลขที่ 1025 อาคารยาคูลท์ ชั้น 12, 14 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เว็บไซต์สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น
เราจึงขอให้ท่านยินยอมสำหรับการใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ข้อกำหนดเว็บไซต์ และนโยบายความเป็นส่วนตัว