รายละเอียดบริการ :
การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon footprint) เป็นการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต/การประกอบชิ้นงาน การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน รวมถึงการขนส่งที่เกี่ยวข้อง โดยคำนวณออกมาในรูปของ กรัม, กิโลกรัม หรือตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หลังจากได้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาแล้ว สามารถนำข้อมูลดังกล่าวมายื่นขอการรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ กับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ และช่วยในการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค
วัตถุประสงค์ :
1. เพื่อประเมินร่องรอยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ในการผลิตผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ
2. เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ทราบค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของการผลิตผลิตภัณฑ์ โดยคำนวณออกมาเป็นหน่วยของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในรูปของ กรัม, กิโลกรัม หรือตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
3. เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับการรับรองการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของผลิตภัณฑ์ โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.)
---------------------------------
แบบที่ 1
1. ให้คำปรึกษาแนะนำการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของผลิตภัณฑ์ เพื่อขอการรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำนวน 1 Functional Unit (7 man-days)
2. ทวนเอกสาร และตรวจสถานประกอบการ อย่างน้อย 3 Man-days
สิ่งที่ส่งมอบ :
รายงานการคำนวณหาค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์
ผลผลิต :
1. ผู้ประกอบการได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการผลิตผลิตภัณฑ์ อย่างน้อย 7 Man-days
2. ทวนสอบเอกสาร และตรวจสถานประกอบการ อย่างน้อย 3 Man-Day
ผลลัพธ์ :
1. ผู้ประกอบการได้รับความรู้ และข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของการผลิตผลิตภัณฑ์ จำนวน 1 Functional Unit
2. ผู้ประกอบการได้รับการรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของการผลิตผลิตภัณฑ์
ขั้นตอนการดำเนินงาน :
1. ผู้เชี่ยวชาญเข้าดำเนินการเก็บข้อมูลของห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำของผู้ประกอบการ
2. คำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยในแต่ละกระบวนการผลิต ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การแปรรูป ตลอดจนการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน
3. ทวนสอบข้อมูล โดยหน่วยงาน หรือที่ปรึกษา (ผู้ทวนสอบ) ที่ขึ้นทะเบียนกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ตรวจสอบเอกสาร, ตรวจสอบสถานประกอบการ, ตรวจสอบ และแก้ไข
---------------------------------
แบบที่ 2
1. ให้คำปรึกษาแนะนำการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของผลิตภัณฑ์ เพื่อขอการรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำนวน 1 Functional Unit (7 man-days)
2. ทวนเอกสาร และตรวจสถานประกอบการ อย่างน้อย 3 Man-days
3. การรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ กับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.)
สิ่งที่ส่งมอบ :
ใบประกาศนียบัตรการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ กับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.)
ผลผลิต :
1. ผู้ประกอบการได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการผลิตผลิตภัณฑ์ อย่างน้อย 7 Man-days
2. ทวนสอบเอกสาร และตรวจสถานประกอบการ อย่างน้อย 3 Man-Day
3. รับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ กับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.)
ผลลัพธ์ :
1. ผู้ประกอบการได้รับความรู้ และข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของการผลิตผลิตภัณฑ์ จำนวน 1 Functional Unit
2. ผู้ประกอบการได้รับการรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของการผลิตผลิตภัณฑ์
3. ผู้ประกอบการมีเอกสารประกอบการยื่นขอการรับรอง และได้รับการยื่นขอการรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ กับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) ในลำดับต่อไป
ขั้นตอนการดำเนินงาน :
1. ผู้เชี่ยวชาญเข้าดำเนินการเก็บข้อมูลของห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำของผู้ประกอบการ
2. คำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยในแต่ละกระบวนการผลิต ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การแปรรูป ตลอดจนการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน
3. ทวนสอบข้อมูล โดยหน่วยงาน หรือที่ปรึกษา (ผู้ทวนสอบ) ที่ขึ้นทะเบียนกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) โดยแบ่ง 3 ขั้นตอน ได้แก่ ตรวจสอบเอกสาร, ตรวจสอบสถานประกอบการ, ตรวจสอบ และแก้ไข
4. เตรียมเอกสารสำหรับการยื่นขอรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ และติดตามผล
5. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) ประกาศผลอนุมัติ เพื่อรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในรูปแบบของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมอบประกาศนียบัตรรับรองการปล่อยก๊าศเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้ประกอบการ
---------------------------------
ขั้นตอนใช้บริการ
1. แจ้งความประสงค์โดยกรอกแบบฟอร์มขอใบเสนอราคาในระบบ BDS สสว.
2. จัดทำติดต่อเพื่อขอรายละเอียดสำหรับการจัดทำใบเสนอราคา และนำส่งใบเสนอราคา
3. ลงนามยืนยันใบเสนอราคาส่งกลับให้เจ้าหน้าที่ พร้อมหลักฐานการชำระเงิน
4. ดำเนินการให้คำปรึกษา ณ สถานประกอบการ
5. จัดส่งเอกสารเพื่อใช้ในการยื่นขอการรับรอง นำส่งให้ผู้ประกอบการ
ระยะเวลาดำเนินการ : 150 (วัน)
หมายเหตุ : อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมโดยสถาบันอาหารจะแจ้งให้ SME ทราบ
และผู้ประกอบการสามารถใช้การโอนสิทธิ์การชำระเงินได้
ติดต่อสอบถามรายละเอียด :
กลุ่มตรวจสอบและรับรอง
คุณอสภพ /คุณสตินันท์
โทร: 0-2422-8688 ต่อ 2501-2506, 0-2422-8674
e-mail: is@nfi.or.th
Line: @nfithailand หรือ https://lin.ee/vW07JSa
เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ SME
วันที่ยื่นข้อเสนอ :
01 ม.ค. 2568, 08:00 - 31 ก.ค. 2568, 17:00
โทรศัพท์มือถือ :
0983688638
โทรศัพท์อื่นๆ :
024228688 ต่อ 8102
อีเมล :
bds@nfi.or.th
เว็บไซต์ :
www.nfi.or.th
ที่อยู่ :
2008 ซอยอรุณอมรินทร์ 36 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700
เว็บไซต์สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น
เราจึงขอให้ท่านยินยอมสำหรับการใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ข้อกำหนดเว็บไซต์ และนโยบายความเป็นส่วนตัว