ชื่อบริการ : Business Matching @ Yangon, Myanmar
1. รายละเอียดบริการ
ชื่องาน: Business Matching @ Yangon, Myanmar
ประเภทของงาน: การพัฒนาช่องทางการจำหน่ายและการตลาด
บริษัทผู้จัดงาน : บริษัท โอเค บิสสิเนส ลิงค์ จำกัด
กำหนดการจัดงาน : วันที่ 22-25 กรกฎาคม 2568
สถานที่จัดงาน : Zealax Hotel & Residence โรงแรมระดับ 5 ดาว
ตั้งอยู่เลขที่ 16 Strand Road Alone Township, Yangon, Myanmar. เว็บไซต์ www.zealaxhotels.com
วันปิดรับสมัครในระบบ BDS ปัจจุบัน - วันที่ 3 มิถุนายน 2568
ความเป็นมาของงาน
สำหรับประเทศเมียนมา นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโรคโควิค 19 ประกอบกับเหตุการณ์ทางการเมืองในปี พ.ศ 2564 เป็นต้นมา ได้ส่งผลต่อภาวะทางเศรษฐกิจภายในประเทศเมียนมาที่เกิดความผันผวนเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องกฎระเบียบที่มีความเข้มงวดเพิ่มมากขึ้นหรือในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนที่ค่าเงินจาตมีอัตราที่อ่อนค่าลงเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจภายในของประเทศเมียนมาเอง ยังคงมีการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะอยู่ในสภาวะที่ยากลำบากก็ตาม เห็นได้จาก มูลค่าการค้า ณ ด่านแม่สอด จังหวัดตาก โดยเป็นทั้งการที่ไทยส่งออกไปเมียนมาและเมียนมาส่งออกมาไทย ตั้งแต่ช่วงโควิด 19 ปี พ.ศ 2562 - 2563 จนถึงปี พ.ศ 2564 เป็นต้นมานั้นมูลค่าการค้า ณ ด่านพรมแดนด้านนี้มีอัตราที่ขยายตัวที่เพิ่มขึ้น
ปัจจุบัน สถานการณ์ภายในประเทศเมียนมา มีการปรับตัวเข้าสู่สภาวะปกติมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ อาทิเช่น กรุงย่างกุ้ง, เมืองมัณฑะเลย์, เมืองบาเต็ง หรือ เมืองเมาะละแหม่ง เป็นต้น ดังนั้น จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะเข้าไปเชื่อมโยงทางธุรกิจกับผู้ประกอบการเมียนมา ในช่วงเวลาที่คู่แข่งขันทางธุรกิจจากประเทศอื่น ๆ ยังมีจำนวนที่ไม่มากนัก ฉะนั้น งาน Business Matching @ Yangon, Myanmar จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนการสร้างเครือข่ายธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยและเมียนมา โดยกรุงย่างกุ้งถือเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูงในประเทศเมียนมา งานนี้จึงเป็นเวทีสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือทางการค้า การลงทุน และโอกาสในการขยายธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการทั้งสองประเทศ โดยจะเป็นงานที่นำเสนอสินค้าไทยทั้งในรูปแบบของ B2B ร่วมกัน
3. กลุ่มเป้าหมาย
3.1 ผู้ประกอบการ SME ไทย ที่ต้องการส่งออก ได้แก่
1) กลุ่มเภสัชกรรม เช่น อาหารเสริมโดยเฉพาะคนป่วยหรือผู้สูงอายุ
2) กลุ่มเครื่องสำอาง โดยเฉพาะ Body Lotion, ครีมอาบน้ำ เป็นต้น,
3) กลุ่มวัตถุดิบเคมีภัณฑ์วัตถุดิบอาหารที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม,
4) กลุ่มอุปกรณ์และเครื่องมือทางการเกษตร, เมล็ดพันธ์, ปุ๋ย, เทคนิคและวิชาการด้านการพัฒนา
ด้านการเกษตร ต่าง ๆ
5) กลุ่มอาหาร ยา เครื่องสำอาง หรือ เวชสำอางจำเป็นต้องมีมาตรฐาน อ.ย ไทย และ จดทะเบียน FDA
ของเมียนมา
3.2 ผู้ประกอบการ SME ไทย ที่ต้องการนำเข้า ได้แก่
1)กลุ่มเนื้อสัตว์และอาหารแปรรูป,
2) กลุ่มสินค้าเกษตรแปรรูป เช่น ถั่ว ข้าวโพด งา เป็นต้น,
3) กลุ่มเยื่อกระดาษและกระดาษ,
4) กลุ่มการแต่งแร่,
5) กลุ่มผักหรือผลไม้แปรรูป,
6) กลุ่มเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากไม้,
7) กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น เชื้อเพลิงชีวมวลจากแกลบหรือขี้เลื่อย เป็นต้น
4. ผู้ร่วมเจรจาธุรกิจ ประกอบด้วย
SUPPLIER – ผู้จัดหาสินค้า หรือบริการ
IMPORTER – ผู้ที่นำเข้าสินค้า
EXPORTER – ผู้ที่ส่งออกสินค้า
PARTNER – คู่ค้า หรือพันธมิตรทางธุรกิจ
INVESTOR – นักลงทุน
AGENT-ตัวแทนจำหน่าย หรือผู้เป็นตัวกลางในการเจรจาธุรกิจ
5. วัตถุประสงค์การจัดงาน
5.1 เสริมสร้างเครือข่ายทางธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยและเมียนมาเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างพันธมิตรที่แข็งแกร่งในตลาดอาเซียนและตลาดอื่นๆ ที่มีพรมแดนประเทศเชื่อมต่อกับประเทศเมียนมา อาทิเช่น บังคลาเทศ, อินเดียภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ จีนภาคตะวันตกเฉียงใต้
5.2 เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ตลาดเมียนมาที่กำลังเติบโตโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง และเคมีภัณฑ์
5.3 สนับสนุนการขยายธุรกิจและการลงทุนระหว่างประเทศในลักษณะตัวกลางส่งผ่าน โดยผู้ประกอบการไทยสามารถนำสินค้าวัตถุดิบหรือสินค้าเกษตรแปรรูปที่ประเทศเมียนมามีศักยภาพ ทำการค้าในลักษณะการส่งผ่านไปยังประเทศอื่นๆ ที่มีความต้องการสินค้าวัตถุดิบจากประเทศเมียนมา พร้อมทั้งการส่งเสริมและมีการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีที่ช่วยยกระดับเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนและเข้าสู่ภูมิภาคอื่น ๆ
6. กิจกรรมภายในงาน
6.1 Business Matching
จัดให้มีการเจรจาธุรกิจ ระหว่าง ผู้ประกอบการไทย กับ Buyer อาทิ ประกอบด้วย SUPPLIER , IMPORTER , EXPORTER , PARTNER , INVESTOR , AGENT ณ ห้องประชุมโรงแรม 5 ดาว จำนวน 15 รายต่อ 1 วัน
6.2 Networking Sessions
การจัดเซสชั่นเครือข่ายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถพบปะและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ไม่จำกัดแค่เจรจาแบบเป็นทางการ
7. สถานที่จัดงาน
Zealax Hotel & Residence ณ เมืองย่างกุ้ง เมียนมา
8.ประสบการณ์/ประวัติ การจัดงานที่ผ่านมาที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาทางธุรกิจในเมียนมา
บริษัท โอเค บิสสิเนส ลิงค์ จำกัด
บริษัท โอเค บิสสิเนส ลิงค์ จำกัด ตั้งอยู่ที่ 359 หมู่ 2 ต. ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก
มีประสบการณ์และผลงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานเจรจาธุรกิจมาแล้วกว่า 10 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 จนถึง พ.ศ.2567 โดยมีรายละเอียดดังนี้:
ประวัติการจัดงาน Business Matching @ Yangon, Myanmar
สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีความร่วมมือกับบริษัท โอเค บิสสิเนส ลิงค์ จำกัด ในการจัดงาน Business Matching @ Myanmar ดังนี้
1. มีการจัดงานเจรจาธุรกิจต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปี (ปี 2559 - 2560) 4 โครงการ เกิดมูลค่า 42 ล้านบาท สาเหตุที่ไม่ได้จัดระหว่างปี 2561 – 2567 เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิท 19 และสถานการณ์ความไม่สงบในเมียนมา 2. ความร่วมมือและแนวคิดที่เกิดขึ้นในงาน ถูกต่อยอดและขยายผลไปสู่การเจรจาธุรกิจในครั้งนี้ ที่มุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการ SME ให้สามารถขยายตลาดไปสู่เมียนมาได้
ยอดเจรจาทางธุรกิจและผลสัมฤทธิ์
ลำดับ | ปี | กิจกรรม | จำนวนผู้ประกอบการ (ราย) | ล้านบาท |
1 | 2560 | กิจกรรมสำรวจลู่ทางการค้าและเจรจาธุรกิจ “เปิดตลาดการค้า SMEs ผาอัน เมาะลำไย เส้นทาง อำเภอแม่สอด จ.ตาก – เมืองผาอัน – เมืองเมาะลำไย ประเทศสหภาพเมียนมา (Business Matching @ Myanmar) | 21 | 15 |
2 | 2559 | “การสำรวจลู่ทางการค้าและเชื่อมโยงธุรกิจ “เปิดตลาดการค้า SMEs ณ กรุงย่างกุ้ง” กรุงเทพฯ - กรุงย่างกุ้ง ประเทศสหภาพเมียนมาร์ (Business Matching @ Yangon, Myanmar) | 20 | 8
|
3 | 2559 | การสำรวจลู่ทางการค้าและเจรจาธุรกิจ เปิดตลาดการค้า SMEs พะอัน เมาะลำไย” อ.แม่สอด จ.ตาก-เมืองพะอัน-เมืองเมาะลำไย เมียนมาร์ : สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (Business Matching @ Myanmar) | 25 | 9 |
4 | 2559 | “เจาะโอกาสการค้าชายแดน ช่องทางรวยใกล้ๆตัว” เส้นทางด่านแม่สอด จ.ตาก-เมียวดี-ผาอัน-เมาะละแหม่ง เมียนมาร์ (Business Matching @ Myanmar) | 25 | 10 |
9. ค่าใช้จ่ายการเจรจาธุรกิจ (ราคานี้ยังไม่รวมค่าที่พัก ค่าอาหารและค่าเดินทาง ) 75,000 บาท
10. สิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับ
1) การขยายช่องทางการตลาดผ่านกิจกรรมการเจรจาธุรกิจ 2 วัน
2) การสัมมนาให้ความรู้
3) การเชื่อมโยงธุรกิจระหว่าง Buy ชาวเมียนมาและผู้ประอบการชาวไทย
11. คุณสมบัติผู้ประกอบการ
1. สินค้าและบริการที่นำมาเข้าร่วมต้องไม่ผิดกฎหมาย และไม่เคยมีประวัติเสียหาย ไม่ลอกเลียนแบบสินค้าหรือลอกเลียนตราสินค้าของผู้อื่น ไม่เป็นสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์หรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และไม่เป็นสินค้าหรือบริการที่ขัดต่อหลักศีลธรรมและจริยธรรม
2. สินค้าและบริการ ต้องได้รับเครื่องหมาย หนังสือรับรองคุณภาพและมาตรฐาน เช่น อย. HACCP, มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.) , มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มอก.), IFROM ฯลฯ และมาตรฐานที่ประเทศเป้าหมายกำหนด
3. กรณีบริษัทของผู้ประกอบการไม่ได้ทำการผลิตเอง ต้องมีการรับรองได้ว่าเป็นสินค้าที่ได้รับอนุญาตจากผู้ผลิตแล้ว
12.ขั้นตอนการขอรับบริการ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สายด่วน ISMED-BDS คุณพิชานัฐ โทร 02-105-4778 ต่อ 2006 ,
092-224-5635 , ณิชาภา 064-157-9663
เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ SME
วันที่ยื่นข้อเสนอ :
01 ม.ค. 2568, 08:00 - 31 ก.ค. 2568, 17:00
โทรศัพท์มือถือ :
0641579663
โทรศัพท์อื่นๆ :
02 105 4778 ต่อ 2001, 3012
อีเมล :
info@ismed.or.th
เว็บไซต์ :
www.ismed.or.th
ที่อยู่ :
99 หมู่ 18 ถนนป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมสาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
เว็บไซต์สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น
เราจึงขอให้ท่านยินยอมสำหรับการใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ข้อกำหนดเว็บไซต์ และนโยบายความเป็นส่วนตัว