สีย้อมสังเคราะห์เป็นสีที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาจากสารเคมีเพื่อให้มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ เช่น เฉดสีที่หลากหลาย มีความสดใส ความคงทนและสามารถย้อมติดบนเส้นใยชนิดต่าง ๆ แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวังเนื่องจากมีส่วนผสมของสารเคมีที่เป็นอันตราย เช่น สีเอโซ และ โลหะหนักเพื่อความปลอดภัยและป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดแก่ประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจึงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์สีย้อมสังเคราะห์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งหมายถึง ผู้ใช้ ผู้ทำหรือผลิต และผู้นำเข้าสีย้อมสังเคราะห์ ต้องยื่นขออนุญาตเพื่อยืนยันว่าสีย้อมสังเคราะห์เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด หากไม่มีใบอนุญาตจะไม่สามารถนำมาใช้ ผลิต หรือนำเข้าได้อีกต่อไป
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ของสีแต่ละประเภท
รายการทดสอบสีย้อมสังเคราะห์
รหัสการบริการ | รายการ | ราคา (บาท) |
TIS-02 | ให้คำปรึกษาแนะนำและทดสอบเพื่อขอการรับรอง มอก. สีย้อมสังเคราะห์ 1 ผลิตภัณฑ์ | 25,000-50,000 |
หมายเหตุ
สิ่งที่ส่งมอบ
รายละเอียดการส่งตัวอย่างทดสอบ
สำหรับสีไดเร็กต์ (เท่านั้น) ผู้ยื่นคำขอต้องระบุลักษณะทั่วไปของสีทั้ง 3 ตัวอย่างที่ส่งทดสอบ ต้องเป็นประเภทและชั้นคุณภาพเดียวกันเท่านั้นต่อ 1 การยื่นคำขอใบอนุญาต
หากต้องการยื่นคำขอทั้ง 3 ประเภท (A, B, C) ต้องแยกส่งทดสอบ 3 สีต่อประเภทและชั้นคุณภาพเดียวกัน
ประเภท A | เคลื่อนตัวง่าย กระจายตัวและจับติดเส้นใยอย่างสม่ำเสมอได้โดยตรง |
ประเภท B | เคลื่อนตัวยาก ต้องควบคุมการเติมเกลือเพื่อให้สีติดสม่ำเสมอ ถ้าย้อมสีแล้วด่างตั้งแต่แรกจะแก้ไขให้สีติดสม่ำเสมอในภายหลังได้ยาก |
ประเภท C | เคลื่อนตัวยากมาก และมีความไวต่อเกลือสูง การย้อมให้สีติดสม่ำเสมอต้องควบคุมทั้งการเติมเกลือและอัตราการเพิ่มอุณหภูมิ |
ชั้นคุณภาพ 1 (ดี) | สีที่มีระดับความคงทนของสีต่อแสงที่ระดับความเข้มของสีมาตรฐาน 1/1 ไม่ต่ำกว่า 5 และมีระดับความคงทนของสีต่อการซักที่ระดับความเข้มของสีมาตรฐาน 1/1 ไม่ต่ำกว่า 3 |
ชั้นคุณภาพ 2 (ปานกลาง) | สีที่มีระดับความคงทนของสีต่อแสงที่ระดับความเข้มของสีมาตรฐาน 1/1 ไม่ต่ำกว่า 3 และมีระดับความคงทนของสีต่อการซักที่ระดับความเข้มของสีมาตรฐาน 1/1 ไม่ต่ำกว่า 2 |
ชั้นคุณภาพ 3 (ต่ำ) | สีที่มีระดับความคงทนของสีต่อแสงที่ระดับความเข้มของสีมาตรฐาน 1/1 ไม่ต่ำกว่า 2 และมีระดับความคงทนของสีต่อการักที่ระดับความเข้มของสีมาตรฐาน 1/1 ไม่ต่ำกว่า 1-2 |
รายการวัสดุและขั้นตอนการย้อม สำหรับการส่งทดสอบแต่ละตัวอย่างสี
หมายเหตุ: สารช่วยย้อมที่สถาบันฯ มีให้ สำหรับการย้อมสีแต่ละประเภท ได้แก่ Common salt (Sodium Chloride), Glauber’s salt (Sodium sulphate), Acetic acid, Soda ash (Sodium Carbonate), Sodium Hydroxide, Sodium hydrosulphite
ข้อมูลสมบัติของสี
ข้อมูลคุณภาพสีของสีแต่ละตัวอย่างที่ส่งทดสอบ ที่ผู้ยื่นคำขอต้องระบุ โดยห้องทดสอบจะทดสอบเพื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ผู้ยื่นคำขอระบุ รายละเอียดดังนี้
ระยะเวลาการทดสอบ
ระยะเวลาการทดสอบของสถาบันฯ ใช้เวลาทดสอบ 10 วันทำการ (จันทร์-ศุกร์) โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ศูนย์วิเคราะห์ฯ ได้รับข้อมูล ตัวอย่าง วัสดุและสารเคมี ครบถ้วน แต่ในกรณีที่ค่าความคงทนของสีต่อแสงเกินเกรด 5 ระยะเวลาการทดสอบจะเพิ่มขึ้น ดังนี้
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ขอรับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน มอก.
ขออนุญาตทำและนำเข้า
ติดต่อ กองควบคุมมาตรฐาน
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
โทรศัพท์: 0 2202 3388-90
ขอคำแนะนำการทดสอบ
ติดต่อ : คุณกันยานุช สินสุวรรณกุล
02-713-5492 ถึง 9 (ต่อ 513)
kanyanuch@thaitextile.org
การส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ
ติดต่อ หน่วยบริการลูกค้า
ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (ห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการแต่งตั้งตาม มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511)
โทรศัพท์: 0 2713 5492 - 9 ต่อ 512 - 514, 712
วัน-เวลาทำการ: จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00-17.00 น.
เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ SME
วันที่ยื่นข้อเสนอ :
01 ม.ค. 2568, 08:00 - 31 ก.ค. 2568, 17:00
โทรศัพท์มือถือ :
0892097129
โทรศัพท์อื่นๆ :
-
อีเมล :
bds.thti@gmail.com
เว็บไซต์ :
www.thaitextile.org
ที่อยู่ :
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
เว็บไซต์สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น
เราจึงขอให้ท่านยินยอมสำหรับการใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ข้อกำหนดเว็บไซต์ และนโยบายความเป็นส่วนตัว