การอบรมเชิงทฤษฎีและปฏิบัติการหลักสูตร "การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สิ่งทอด้วยเทคโนโลยีการตกแต่งสำเร็จ"

banner

ข้อมูลบริการ

  • การพัฒนาและบริหารจัดการธุรกิจ
-
-

รายละเอียดบริการ

การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการตกแต่งสำเร็จเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการใช้งานที่พึงประสงค์ เพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มโอกาสการแข่งขันทางการตลาด พัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิต ให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด โดยทีมวิทยากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญของ     ศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ที่บรรยายให้ความรู้ในเชิงทฤษฎีถึง        แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีการตกแต่งสำเร็จ พร้อมทั้งอบรมเชิงปฏิบัติการให้ผู้ประกอบการได้ทดลองทำจริงกับผลิตภัณฑ์ของสถานประกอบการ

          ผลิตภัณฑ์ที่นำมาพัฒนาสามารถทำได้ทั้งผ้าผืน และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เช่น ผลิตภัณฑ์ผ้าผืนที่นำมาตกแต่งเพิ่มฟังก์ชั่น ก่อนกระบวนการตัดเย็บผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เช่น การตกแต่งผ้าให้ผิวสัมผัสนุ่มลื่นน่าใช้งาน การตกแต่งผ้าต้านแบคทีเรีย ลดกลิ่นอับชื้น สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย และการตกแต่งผ้าให้มีคุณสมบัติสะท้อนน้ำ ลดการดูดซับสิ่งสกปรกในรูปของเหลวสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านเคหะสิ่งทอ และ ผลิตภัณฑ์ของใช้ต่าง ๆ เป็นต้น

การตกแต่งสำเร็จ (Finishing) การตกแต่งสำเร็จสิ่งทอเป็นกระบวนการต่อเนื่องมาจากกระบวนการ ฟอกย้อม เป็นการปรับปรุงหรือเพิ่มเติมคุณสมบัติบางอย่างให้กับผลิตภัณฑ์สิ่งทอเพื่อให้สิ่งทอนั้นมีคุณสมบัติการ ใช้สอยที่ดีขึ้นหรือตรงต่อความต้องการมากขึ้นและเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์สิ่งทอ การตกแต่งสำเร็จอาจทำได้ หลายวิธีทั้งใช้เครื่องจักรหรือใช้สารเคมีเข้าช่วย ทั้งนี้การจำแนกประเภทตามกรรมวิธีการตกแต่งมี 2 ประเภท

  1. การตกแต่งสำเร็จเชิงกล (Mechanical Finishing) เป็นการตกแต่งสิ่งทอโยใช้เครื่องจักรในการผลิต          ซึ่งเป็นลักษณะเชิงกล เป็นการตกแต่งสำเร็จที่เปลี่ยนแปลงลักษณธทางกายภาพของผืนผ้า เช่น     การขัดมัน การตัดขน การตะกุยขน การทำให้ผ้าหดตัว เป็นต้น ซึ่งทำให้ผ้ามีคุณสมบัติที่ดีขึ้น เช่นเรียบมันเงา นุ่ม ผิวสัมผัสดีขึ้น
  2. การตกแต่งสำเร็จทางเคมี (Chemical Finishing) เป็นการตกแต่งสำเร็จสิ่งทอด้วยสารละลายซึ่งสาร ตั้งต้นอาจจากธรรมชาติ หรือสารเคมีสังเคราะห์ขึ้นมา เพื่อช่วยในการปรับปรุ่งหรือเพิ่มเติมคุณสมบัติแตกต่างออกไปตามที่ต้องการ เช่น การตกแต่งต้านการยับ การตกแต่งต้านลามไฟ การตกแต่งสะท้อนน้ำ การตกแต่งต้านแบคทีเรีย การตกแต่งต้าไฟฟ้าวสถิตย์ การตกแต่งให้มีกลิ่นหอม และการตกแต่งให้ผิวสัมผัสนุ่นดีขึ้น เป็นต้น ซึ่ง  ในการตกแต่งด้วยสารละลายส่วนใหญ่จะทำให้เครื่องสเตนเตอร์ (Stenter) ซึ่งสามารถใช้ได้กับผ้าหลากหลายชนิดและโครงสร้าง ในปัจจุบันมีเครื่องจักรที่พัมนามารองรับการตกแต่งสำเร็จทางเคมีหลากหลาย รูปแบบได้แก่ เครื่องพ่นสเปรย์ เครื่องตกแต่งผ้า add on finishing เพื่อให้ผ้ามีคุณสมบัติ 2 ด้านไม่เหมือนกัน ทั้งนี้สามารถประยุกต์ใช้ในการผลิตจำนวนน้อยในครัวเรือนได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องจักร ด้วยวิธีจุ่มแช่ แล้วนำไปสลัดหมาด ผึ่งให้แห้ง หรือรีดด้วยเตารีด เป็นต้น

หัวข้อการอบรมเชิงทฤษฎีและปฏิบัติการหลักสูตร"การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สิ่งทอด้วยเทคโนโลยีการตกแต่งสำเร็จ"

1. การเตรียมผ้าก่อนกระบวนการตกแต่งสำเร็จ (Pre-treatment)

  • การทำความสะอาดสิ่งสกปรกบนเส้นใยสิ่งทอ (Scouring)

2. การตกแต่งเพิ่มคุณสมบัติการใช้งาน (Finishing) ได้แก่

  • การตกแต่งนุ่ม (Soft finish)เป็นการทำตกแต่งสำเร็จให้มีผ้าที่มีผิวสัมผัส น่าสัมผัส เหมาะกับ การใช้งานกับผ้า ที่ต้องสัมผัสกับผิวของผู้ใช้ เช่น เสื้อผ้า ชุดกีฬา เป็นต้น สารที่ใช้ในการตกแต่งให้นุ่มมีหลายประเภท แต่ในปัจจุบันที่นิยมใช้จะเป็นสังเคราะห์พวกซิลิโคน (Silicone) และสารฟลูออโรเรซิน เป็นต้น 
  • การตกแต่งต้านแบคทีเรีย (Anti-bacteria Finishes) สารที่ใช้ในการตกแต่งต้านแบคทีเรียในปัจจุบันมีทั้งสารธรรมชาติ เช่น ไคโตรซาน และสารสังเคราะห์ได้แก่ นาโนซิงค์ออกไซด์ ซิลเวอร์ออกไซด์ เป็นต้น การตกแต่งนี้ จะไปยับยั้งการเพิ่มจำนวน และการเจริญของแบคทีเรียหลายชนิดซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายและก่อให้เกิดผลข้างเคียง ได้แก่ เกิดอาการคัน กลิ่นเหม็น เป็นต้น
  • การตกแต่งผ้าให้มีกลิ่นหอม (Perfume microencapsulate Finishes) โดยใช้เทคโนโลยี ไมโครเอ็นแคบซูเลชั่น ซึ่งประกอบด้วยสารสองส่วนที่สำคัญคือ สารที่เป็นแกนข้งในจะเป็นน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากพืชหรือจากการสังเคราะห์ ส่วนที่ห่อหุ้มหรือเปลือกจะเป็นสารจากขี้ผึ้ง แวกซ์  หรือโพลียูรีเทน เมือนำมาตกแต่งสำเร็จบนผ้าแล้วผ้านั้นเกิดการขัดถู เปลือกที่หุ้มน้ำมันหอมระเหยก็จะแตกออก แล้วกลิ่นก็จะระเหยออกมา เหมาะสำหรับเสื้อผ้า ชุดทำงาน ชุดสปา เป็นต้น
  • การตกแต่งสำเร็จผ้าป้องกันยุง (Anti-mosquito finishes) โดยใช้เทคโนโลยีไมโครเอ็นแคบซูเลชั่น น้ำมันหอมระเหยกลิ่นตะไคร้หอม 
  • การตกแต่งต้านการลามไฟ (Flame-retardant Finish) เป็นการตกแต่งเพื่อให้ผ้าต้านการลามไฟหรืออีกนัยหนึ่ง คือติดไฟยากเมื่อสัมผัสกับเปลวไฟหรือความร้อนสูง สารี่ตกแต่งต้านการลามไฟนี้มีหลายกลุ่ม กลุ่มฮาโลเจน (Halogen-based) กลุ่มฟอสฟอรัส (Phosphorus) กลุ่มอนินทรีย์ (Inorganic salt) กลุ่มไนโตรเจน (Nitrogen) แต่ที่นิยมและผ่านการรับรองความปลอดภัยจะเป็นสารกลุ่มฟอสฟอรัสการ (Phosphorus) และกลุ่มอนินทรีย์ (Inorganic salt) ในประเทศแถบยุโรปและอเมริกาได้ให้สำคัญกับการไฟให้กับวัสดุสิ่งทอมาก ถึงกับการออกกฎหมายบังคับใช้สำหรับ สิ่งทอที่ใช้ในบ้านเรือน โรงแรม เป็นต้น
  • การตกแต่งสะท้อนน้ำลดการดูดซับสิ่งสกปรก (Water repellent Finish) ในปัจจุบันมีหลายวิธี ทั้งวิธีทางกายภาพ เช่น การดัดแปรพื้นผิวเส้นใยโดยใช้เทคโนโลยีพลาสมา หรือวิธีทางเคมี เช่น การเคลือบผิวเส้นใยด้วยสารที่มีคุณสมบัติไม่ชอบน้ำ(Hydrophobic) ได้แก่ สารเคมีพวก พาราฟิน แว็กซ์ ซิลิโคนและสารประกอบฟลูออโรคาร์บน เช่น เทฟล่อน (polytetrafluorethylene) เป็นต้น

3. การทดสอบคุณภาพ (Testing) 

  • การทดสอบประสิทธิภาพหลังการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอตามมาตรฐานสากล

 

รหัสการบริการ

รายการ

ราคา (บาท

PLTF-01

การอบรมเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติการ

หลักสูตร  “การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สิ่งทอด้วยเทคโนโลยีการตกแต่งสำเร็จ”

หลักสูตร 1 วัน สำหรับผู้ประกอบการจำนวน 10 ท่าน

สิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับ

  1. ได้รับการฝึกอบรมจำนวน 1 วัน (ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง)
  2. ได้รับการพัฒนาผลิตสิ่งทอต้นแบบ ด้วยเทคโนโลยีการตกแต่งสำเร็จ             จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ผลิตภัณฑ์/ท่าน
  3. ใบประกาศนียบัตร

50,000

PLTF-02

การอบรมเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติการ

หลักสูตร  “การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สิ่งทอด้วยเทคโนโลยีการตกแต่งสำเร็จ” 

หลักสูตร 2 วัน สำหรับผู้ประกอบการ 20 ท่าน

สิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับ

  1. ได้รับการฝึกอบรมจำนวน 1 วัน (ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง)
  2. ได้รับการพัฒนาผลิตสิ่งทอต้นแบบ ด้วยเทคโนโลยีการตกแต่งสำเร็จ            จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ผลิตภัณฑ์/ท่าน
  3. ใบประกาศนียบัตร

100,000

หมายเหตุ: ราคาไม่รวม vat 7%

คำค้น (Keyword)

Inhouse

สาขาที่ให้บริการ

สำนักงานใหญ่

ข้อมูลในการติดต่อ

ระบบบริการ

฿50,000 - ฿100,000

เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ SME

กิจกรรมที่เข้าร่วม

การบริหารจัดการ การเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ

วันที่ยื่นข้อเสนอ :

01 ม.ค. 2568, 08:00 - 31 ก.ค. 2568, 17:00

ผู้ให้บริการทางธุรกิจ

logo
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

โทรศัพท์มือถือ :

0892097129

โทรศัพท์อื่นๆ :

-

อีเมล :

bds.thti@gmail.com

เว็บไซต์ :

www.thaitextile.org

ที่อยู่ :

ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

เว็บไซต์สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น
เราจึงขอให้ท่านยินยอมสำหรับการใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ข้อกำหนดเว็บไซต์ และนโยบายความเป็นส่วนตัว