3. บริการตรวจคุณภาพโรงงาน

banner
banner
banner

ข้อมูลบริการ

  • การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ
-
-

รายละเอียดบริการ

บริการตรวจคุณภาพโรงงาน

หน่วยตรวจสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับการรับรองการบริหารงานด้วยระบบคุณภาพ มอก. (ISO/IEC) 17020 มีประสบการณ์และความชำนาญเฉพาะด้าน มานานกว่า 20 ปี มีความรวดเร็วมีประสิทธิภาพสูงและมีความเป็นกลางในการดำเนินงานและความชำนาญเฉพาะด้านสามารถให้บริการประเมินโรงงานทั้งในและต่างประเทศ ดังนี้  มอก. ของ สมอ., VDE ของประเทศเยอรมัน, JET ของประเทศญี่ปุ่น, CEBEC ของประเทศเบลเยี่ยม, FIMKO ของประเทศฟินแลนด์, OVE ของประเทศออสเตรีย, ตรวจประเมินโครงการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ (BOI), PPA ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) และ EEI  ของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน

• รับคำขอบริการจากหน่วยรับรองผลิตภัณฑ์ หรือ ผู้รับบริการร้องขอ / ทบทวนคำขอรับบริการ,ผลิตภัณฑ์, มาตรฐาน,รูปแบบการรับรอง และ เอกสารอื่นๆ

• สุ่มตัวอย่างเพื่อทดสอบ (ถ้ามี)

• ตรวจโรงงานตามข้อกำหนด/นำส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไปที่หน่วยทดสอบ (ถ้าเกี่ยวข้อง)

• ทบทวนผลการตรวจโรงงานและผลการทดสอบ (ถ้าเกี่ยวข้อง)

• ส่งผลการตรวจโรงงานและผลการทดสอบไปยังหน่วยตรวจนั้นๆ

• ตรวจติดตาม (ถ้ามี)

 

รูปแบบการดำเนินการ

  1. VDE , JET , FIMKO , CEBEC, OVE

          การตรวจสอบเพื่อการอนุญาตและติดตามผล

          การตรวจสอบเพื่อการอนุญาตและติดตามผล  ดำเนินการตามแนวทางของมาตรฐาน ISO/IEC 17020  ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก  ได้แก่
          1. การอนุญาต   (Pre-License Inspection)   
          2. การตรวจติดตามภายหลังการอนุญาต   (Routine Inspection)

  • Pre-License Inspection
    คือ การตรวจโรงงานครั้งแรก  (Pre-License Inspection)   มีการตรวจประเมินระบบบริหารการควบคุมคุณภาพ  กระบวนการผลิต  และ  การรักษาคุณภาพสินค้า
    ให้ได้ตามมาตรฐานของแต่ล่ะหน่วยรับรองผลิตภัณฑ์นั้นๆ และทางผู้ยื่นขอการรับรองจะเป็นผู้นำส่งตัวอย่างไปยังหน่วยรับรองผลิตภัณฑ์เพื่อทำการทดสอบต่อไป
  • Routine Audit
    หลังจากผู้ยื่นขอการรับรอง ได้รับใบอนุญาตจะมีการตรวจติดตามประจำปี  (Routine Inspection) เพื่อตรวจสอบคุณภาพระบบคุณภาพในการผลิตสินค้าและกระบวนการผลิต โดยจะมีการสุ่มตัวอย่าง (Sample Sampling) ตามจำนวนที่กำหนดไว้เพื่อทำการทดสอบ ว่าทั้งกระบวนการผลิตและคุณภาพสินค้ายังคงเป็นไป
    ตามมาตรฐานเช่นเดิม

 

      2. มอก. ของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)  

         การตรวจสอบเพื่อการอนุญาตและติดตามผล

         การตรวจสอบเพื่อการอนุญาตและติดตามผล  ดำเนินการตามแนวทางของมาตรฐาน ISO/IEC 17020  ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก  ได้แก่
         1. การอนุญาต   
         2. การตรวจติดตามภายหลังการอนุญาต  

         รูปแบบการอนุญาต มี 2 แบบ  ประกอบไปด้วย  

  • ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เกณฑ์การพิจารณา คือ ผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ยื่นขอทุกรายการ
  • โรงงานที่ทำผลิตภัณฑ์มีระบบการควบคุมคุณภาพเพียงพอที่จะรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นไป  ตามมาตรฐานได้อย่างสม่ำเสมอ

 

      3. EEI   ของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 

          การตรวจสอบเพื่อการอนุญาตและติดตามผล

          การตรวจสอบเพื่อการอนุญาตและติดตามผล  ดำเนินการตามแนวทางของมาตรฐาน ISO/IEC 17065  ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก  ได้แก่
          1. การอนุญาต   (Pre-Certification)   
          2. การตรวจติดตามภายหลังการอนุญาต   (Routine Audit)

  • Pre-Certification
    คือ การตรวจโรงงานครั้งแรก  (Pre-Certification)   มีการตรวจประเมินระบบบริหารการควบคุมคุณภาพ  กระบวนการผลิต  และ  การรักษาคุณภาพสินค้า
    ให้ได้ตามมาตรฐานของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  และทางผู้ยื่นขอการรับรองจะเป็นผู้นำส่งตัวอย่างมายังสถาบันไฟฟ้าฯ  เท่านั้นเพื่อทำการทดสอบต่อไป
  • Routine Audit
    หลังจากผู้ยื่นขอการรับรอง ได้รับใบอนุญาตจะมีการตรวจติดตามประจำปี  (Routine Audit) เพื่อตรวจสอบคุณภาพระบบคุณภาพในการผลิตสินค้าและกระบวนการผลิต โดยจะมีการสุ่มตัวอย่าง (Sample Sampling) ตามจำนวนที่กำหนดไว้เพื่อทำการทดสอบ ว่าทั้งกระบวนการผลิตและคุณภาพสินค้ายังคงเป็นไปตามมาตรฐานเช่นเดิม

 

      4. BOI  5.6.1,  BOI 5.6.2,  BOI 5.7

  • เป็นการตรวจประเมิน การส่งเสริมการลงทุนประเภท การออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์  และ ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องจากการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ 
    เพื่อขอสิทธิและประโยชน์กับทางจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
  • เมื่อทางบริษัท ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)  สามารถนัดหมายตรวจประเมินการส่งเสริม การลงทุน จากสถาบันไฟฟ้าฯ เพื่อรับรองสิทธิและประโยชน์ เช่น  ยกเว้นภาษีนิติบุคคลสูงสุดนานถึง 8 ปี   ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก  (มาตรา 36)  เป็นต้น

     

      5. PEA-EEI  ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)

         การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. ได้พัฒนาหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนและรับรองผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้สำหรับการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ที่มีการจัดหามาใช้ในกิจการ
         ของ กฟภ.  เพื่อเป็นการยกระดับผู้ประกอบการให้สามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์ รักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามหลักการสากล เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ กฟภ. สามารถ
         พัฒนาระบบจำหน่ายไฟฟ้าให้มีเสถียรภาพ เป็นไปตามนโยบายและภาระกิจของ กฟภ. 

          การตรวจสอบเพื่อการขึ้นทะเบียนและการรับรองผลิตภัณฑ์ เป็นการตรวจประเมินคุณภาพของการดำเนินงานในโรงงานตามที่ผู้ยื่นขอการรับรอง 
          ยื่นขอกับทางสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

          การตรวจสอบเพื่อการขึ้นทะเบียนและการรับรองผลิตภัณฑ์  ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก  ได้แก่
          1. การตรวจประเมินระบบควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์     
          2. การตรวจติดตามผล   

  • การตรวจประเมินระบบควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์
    หน่วยรับรองจะตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ตาม หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนและรับรองผลิตภัณฑ์ และ หลักเกณฑ์การตรวจประเมินรายผลิตภัณฑ์ 
    ที่เกี่ยวข้อง ณ ผู้ผลิต หรือ โรงงาน
  • การตรวจติดตามผล
    หน่วยรับรองผลิตภัณฑ์กำหนดการตรวจติดตามผลการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือตามความเหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ได้รับการรับรองสามารถควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง และผลิตภัณฑ์ยังเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ระเบียบ ข้อกำหนดและมาตรฐานที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ


สิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับ

      รายงานผลการตรวจคุณภาพโรงงาน หรือผลการประเมินความสอดคล้องตามเกณฑ์ ข้อกำหนดของหน่วยตรวจนั้นๆ หรือตามมาตรฐานที่กำหนด ที่รับรองโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งสามารถนำรายงานผลดังกล่าวไปอ้างอิงยังหน่วยตรวจได้
 

ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับ

  1. ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่น และมั่นใจในการใช้งานผลิตภัณฑ์ได้อย่างปลอดภัยและมีคุณภาพ
  2. เข้าสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว
  3. เป็นที่ยอมรับภายในประเทศ กลุ่มประเทศอาเซียนและระดับสากล
  4. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาด

 

[ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม]

คุณนิภาพร ลาภเกิด  (อ๋อย)

โทร : 02 709 4860  ต่อ 5255

โทร : 08 2269 3695

E-mail : nipaporn@thaieei.com

สาขาที่ให้บริการ

ศูนย์ปฏิบัติการและมาตรฐาน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ข้อมูลในการติดต่อ

ระบบบริการ

฿5,000 - ฿50,000

เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ SME

กิจกรรมที่เข้าร่วม

การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ

วันที่ยื่นข้อเสนอ :

01 ม.ค. 2568, 08:00 - 31 ก.ค. 2568, 17:00

ผู้ให้บริการทางธุรกิจ

logo
สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

โทรศัพท์มือถือ :

0809566959

โทรศัพท์อื่นๆ :

-

อีเมล :

alisa@thaieei.com

เว็บไซต์ :

www.thaieei.com

ที่อยู่ :

เลขที่ 57 ชั้น 6 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม ถนนพระสุเมรุ(บางลำภู) แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

เว็บไซต์สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น
เราจึงขอให้ท่านยินยอมสำหรับการใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ข้อกำหนดเว็บไซต์ และนโยบายความเป็นส่วนตัว