ข้อมูลเบื้องต้นของโครงการ
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ มีความประสงค์จะช่วยพัฒนาการนำมาตรฐานระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP) มาประยุกต์ใช้ในการบริหารการผลิตอาหาร ยา และเครื่องสำอาง ในธุรกิจของท่าน เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยต่อการนำไปใช้บริโภค หรือการใช้งานที่เกี่ยวเนื่องกับคน และการดำเนินงานผลิตสินค้าให้มีประสิทธิภาพ โดยวิทยากรที่ปรึกษาของสถาบันจะทำหน้าที่ให้บริการการฝึกอบรมและให้คำแนะนำ เพื่อให้การปฏิบัติงานในทุกขั้นตอนเป็นไปอย่างถูกต้อง และสอดคล้องกับข้อกำหนดมาตรฐาน และมีความพร้อมในการขอการรับรองมาตรฐานระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP)
ความสำคัญของมาตรฐาน
A Key of Hazard Prevention – HACCP กุญแจสำคัญป้องกันอันตรายในห่วงโซ่การผลิตอาหาร
HACCP มาตรฐานระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม หรือ Hazard Analysis and Critical Control Point System เป็นมาตรฐานเพื่อสร้างระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของอาหาร สำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารตลอดทั้งห่วงโซ่ ตั้งแต่ผู้ผลิตเบื้องต้น (Primary Producer) จนถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้าย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคต่อความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหาร และลดการกีดกันทางการค้าของต่างประเทศ
ขั้นตอนการให้คำปรึกษาแนะนำ
ขั้นตอนที่ 1 : การให้ความรู้ (2 วัน)
เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามขั้นตอนและให้บุคลากรในองค์กรของท่าน ทราบถึงข้อกำหนดของมาตรฐานมาตรฐานระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP) และขั้นตอนการตรวจประเมินภายในระบบ HACCP วิทยากรที่ปรึกษาให้ความรู้กับบุคลากรของท่าน ตามที่ได้มีการคัดเลือกไว้
ขั้นตอนที่ 2 : การพัฒนาระบบบริหารงาน (3-7 วัน)
เพื่อให้มีการจัดเตรียมเอกสารที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิทยากรที่ปรึกษาจะดำเนินการให้คำแนะนำในการจัดเตรียมระบบเอกสารของบริษัทของท่านได้แก่ คู่มือคุณภาพ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และเอกสารต่างๆตามข้อกำหนดมาตรฐาน HACCP และติดตามการนำเอกสารไปปฏิบัติจริงว่าสอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐานหรือไม่
ขั้นตอนที่ 3 : การตรวจประเมินก่อนขอใบรับรอง (1 วัน)
จุดประสงค์เพื่อประเมินว่าระบบบริหารงานของท่านพร้อมสำหรับการยื่นขอการรับรองระบบมาตรฐาน HACCP แล้วหรือไม่ วิทยากรที่ปรึกษาจะตรวจประเมินระบบบริหารงานก่อนที่ผู้ตรวจประเมินจะมาตรวจประเมินจริง (Pre-Assessment) และจะแจ้งผลการตรวจประเมินให้ท่านทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานสากลต่อไป
หากบริษัทของท่านได้แก้ไขความไม่สอดคล้องดังกล่าวแล้ว และพิจารณาว่ามีความพร้อม ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการตรวจประเมินเพื่อขอรับรองมาตรฐานระบบจากผู้ออกใบรับรอง (Certification Body ; CB) ที่ท่านคัดเลือกไว้ต่อไป
สิ่งที่จะได้รับจากโครงการ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ฝ่ายปรึกษาแนะนำ
โทร : 0-2619-5500 ต่อ 573 คุณยุธิชล
E-mail : yutichol@ftpi.or.th
Line : @ftpi
เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ SME
วันที่ยื่นข้อเสนอ :
06 พ.ย. 2566, 12:00 - 30 พ.ย. 2567, 17:00
5
โทรศัพท์มือถือ :
0832275836
โทรศัพท์อื่นๆ :
026195500 ต่อ 573
อีเมล :
bds@ftpi.or.th
เว็บไซต์ :
www.ftpi.or.th
ที่อยู่ :
เลขที่ 1025 อาคารยาคูลท์ ชั้น 12, 14 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เว็บไซต์สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น
เราจึงขอให้ท่านยินยอมสำหรับการใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ข้อกำหนดเว็บไซต์ และนโยบายความเป็นส่วนตัว