บริการวิเคราะห์และทดสอบวัสดุด้วยเครื่องมือวิเคราะห์เชิงแสง

banner

ข้อมูลบริการ

  • การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ
-
-

รายละเอียดบริการ

ศูนย์พัฒนาวัสดุด้วยเทคโนโลยีลำไอออนและการวิเคราะห์เชิงแสง (Center of Ion Beam Materials Development and Optical Analysis : CIMO) 

อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดให้บริการเครื่องมือวิเคราะห์ภายในห้องปฏิบัติการเครื่องต้นแบบระดับอุตสาหกรรมสำหรับปรับปรุงคุณภาพอัญมณีและวัสดุด้วยเทคนิคลำไอออน และบริการวิเคราะห์อัญมณีและวัสดุโดยเครื่องมือวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานและขั้นสูง

 

รายละเอียดการบริการ

1. การวิเคราะห์หาชนิดของธาตุและองค์ประกอบเคมี โดยเอ็กซเรย์ฟลูออเรสเซนส์ (XRF)

เป็นเครื่องมือวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของธาตุที่เป็นองค์ประกอบของตัวอย่างแบบไม่ทำลายตัวอย่าง สามารถวิเคราะห์ตัวอย่างทั้งของเหลว ของแข็ง ผง และแผ่นฟิล์ม วิเคราะห์ธาตุตั้งแต่ ธาตุโซเดียม (Na) จนถึง ธาตุยูเรเนียม (U) ได้ในโหมดบรรยากาศและโหมดสุญญากาศ สามารถวัดความหนาของสารเคลือบ (Coating Thickness) ได้


2. การวิเคราะห์การดูดกลืนแสงโดย UV VIS NIR Spectrophotometer

เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดการดูดกลืนแสง (Absorbance) การส่องผ่าน (Transmittance) และการสะท้อน (Reflectance) ในช่วงความยาวคลื่นย่าน Ultraviolet (UV), Visible (Vis) และ Near infrared (NIR) ใช้สำหรับวิเคราะห์คุณภาพและปริมาณของสารตัวอย่าง สามารถวิเคราะห์ตัวอย่างได้หลายรูปแบบทั้งชนิดของเหลว ของแข็ง และอัญมณี เป็นต้น

3.การวิเคราะห์หาชนิดและองค์ประกอบด้วยเทคนิครามาน (Raman)

เป็นเครื่องมือวิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีและหาองค์ประกอบของสารตัวอย่าง เพื่อตรวจยืนยันเอกลักษณ์ของสาร โดยใช้หลักการกระเจิงแสงของปรากฎการณ์รามาน สำหรับใช้ในการวิเคราะห์ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ สามารถวิเคราะห์ตัวอย่างที่เป็นของแข็งและของเหลวได้


4. การวิเคราะห์หาชนิดและองค์ประกอบโมเลกุลของสารด้วย เทคนิคฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปคโตรสโคปี (FTIR)

เป็นเครื่องวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของสาร โดยอาศัยหลักการดูดกลืนแสงในช่วงคลื่นอินฟราเรด

 

ประโยชน์ และสิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับ

ผู้ประกอบการจะได้ใบรับรายงานผลการวิเคราะห์ทดสอบอัญมณี หรือวัสดุอื่น ๆ ด้วยเทคนิคที่ไม่ทำลายตัวอย่าง เพื่อนำไปใช้ประเมินคุณภาพสินค้า  ประเมินราคา ควบคุมและตรวจสอบมาตรฐานการผลิต สร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ประกอบการ ส่งผลให้สินค้ามีมูลค่าสูงขึ้น และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค

 

รายละเอียดผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการ

คุณธันยพร เต็งชัยศรี ตำแหน่ง พนักงานพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม

เบอร์โทรศัพท์ : 089-155-2224 

E-mail : cimo@step.cmu.ac.th

https://www.facebook.com/CIMOSTeP

 

สาขาที่ให้บริการ

สำนักงานใหญ่

ข้อมูลในการติดต่อ

ระบบบริการ

฿900 - ฿3,500

เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ SME

กิจกรรมที่เข้าร่วม

การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ

วันที่ยื่นข้อเสนอ :

01 ม.ค. 2568, 08:00 - 31 ก.ค. 2568, 17:00

ผู้ให้บริการทางธุรกิจ

logo
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โทรศัพท์มือถือ :

0989855241

โทรศัพท์อื่นๆ :

053 948 678

อีเมล :

info@step.cmu.ac.th

เว็บไซต์ :

https://www.step.cmu.ac.th/

ที่อยู่ :

ชั้น 2 (อาคาร A) อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) 155 หมู่ 2 ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100 ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50100

เว็บไซต์สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น
เราจึงขอให้ท่านยินยอมสำหรับการใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ข้อกำหนดเว็บไซต์ และนโยบายความเป็นส่วนตัว