อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค (Regional Science Park) เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ซึ่งภาคเอกชนสามารถใช้พื้นที่ในการวิจัยและพัฒนาได้ตลอดจนบ่มเพาะผู้ประกอบการและเทคโนโลยีใหม่ๆ สู่ระบบเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคชุมชนท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยสร้างธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ และส่งเสริมการนำผลการวิจัยและพัฒนาเข้าสู่ระบบการคุ้มครองและการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนากำลังคนด้าน วทน. ของประเทศ ประกอบด้วย 3 ภูมิภาค ได้แก่ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ โดยมีสมาชิกมหาวิทยาลัยเครือข่ายทั้งสิ้น 44 มหาวิทยาลัย
โดยอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (Northern Science Park) ขับเคลื่อนกลไกในการสร้างกระบวนการสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมโดยมีอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นแม่ข่ายดำเนินงานบริหารจัดการร่วมกับ 13 มหาวิทยาลัยเครือข่ายในภาคเหนือ ได้แก่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ซึ่งการเชื่อมโยงการใช้บริการห้องปฏิบัติการ โรงงานต้นแบบ เครื่องมือและเครื่องจักร ภายในมหาวิทยาลัยเครือข่าย เพื่อแก้ไขปัญหาความต้องการแก่ผู้ประกอบการ ถือเป็นหนึ่งในวัตถุประสงค์ของการให้บริการของอุทยานฯ ให้เกิดการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรที่มีอยู่เดิมของมหาวิทยาลัยเครือข่ายในการสร้างประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ สร้างผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
รายละเอียดบริการ
วิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์ภายใต้ห้องปฏิบัติการเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค อาทิ
1.ทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ทางเกษตรและอาหารแปรรูป เช่น วิเคราะห์หาสารสำคัญ วิเคราะห์หาโลหะหนักในอาหาร การประเมินผลทางประสาทสัมผัสของอาหาร(Sensory Test) เป็นต้น
2.ทดสอบคุณภาพวัสดุ/บรรจุภัณฑ์ เช่น Tensile Strength , อัตราการซึมผ่านแก๊ส , ทดสอบคุณภาพไม้อัด เป็นต้น
3.ทดสอบคุณภาพเครื่องสำอางค์ เช่น ทดสอบการระคายเคือง , ทดสอบประสิทธิภาพการป้องกันรังสี UV เป็นต้น
4.ให้คำปรึกษาและส่งต่อการวิเคราะห์เชิงลึกอื่นๆ โดยอุทยานฯ จะทำหน้าที่ให้คำปรึกษา เชื่อมโยงและส่งต่อการวิเคราะห์ทดสอบแก่อาจารย์ นักวิจัยในเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อดำเนินการให้บริการผู้ประกอบการต่อไป
*ผู้ประกอบการสามารถขอคำปรึกษารายละเอียดรายการทดสอบที่เหมาะสม จากเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานได้โดยตรงก่อนเริ่มดำเนินการ และผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีผลิตภัณฑ์หรือตัวอย่าง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการประสานงานส่งตัวอย่างทดสอบแก่ห้องปฏิบัติการเครือข่ายต่อไป
ประโยชน์ของบริการ
2. เพื่อใช้สำหรับประกอบการยื่นตรวจประเมินตามกฏหมายหรือมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ หรือผลิตภัณฑ์ นั้นๆ
เช่น มอก. , ISO , อย. , GHP&HACCP เป็นต้น
3. สำหรับเป็นข้อมูลตัดสินใจในการวิจัย พัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือข้อมูลประกอบแผนการตลาดต่อไป
สิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับ
รายผลลัพธ์การวิเคราะห์ทดสอบดังรายการที่ระบุในรายละเอียดบริการ อย่างน้อย 1 ฉบับ
ผู้ประสานงาน
นางสาวนุชจิรา จินดากุล
เบอร์โทรศัพท์ : 061-6169636
E-mail : nuchjira@step.cmu.ac.th
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://step.cmu.ac.th/NSP/service.php
https://stdb.mhesi.go.th/
เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ SME
วันที่ยื่นข้อเสนอ :
01 ม.ค. 2568, 08:00 - 31 ก.ค. 2568, 17:00
4
โทรศัพท์มือถือ :
0989855241
โทรศัพท์อื่นๆ :
053 948 678
อีเมล :
info@step.cmu.ac.th
เว็บไซต์ :
https://www.step.cmu.ac.th/
ที่อยู่ :
ชั้น 2 (อาคาร A) อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) 155 หมู่ 2 ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100 ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50100
เว็บไซต์สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น
เราจึงขอให้ท่านยินยอมสำหรับการใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ข้อกำหนดเว็บไซต์ และนโยบายความเป็นส่วนตัว