หลักสูตร
การให้คำปรึกษาและแนะนำเพื่อการยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงแบบแปลนแผนผังและจำนวนแรงม้า ผ่าน e-submission (สบ.2 การแก้ไขแบบที่ต้องมีผลตรวจประเมินสถานที่ประกอบการพิจารณา)
สถาบันบริการวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
1. รายละเอียดบริการ
ปัจจุบัน กองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้พัฒนากระบวนการขออนุญาตขอเปลี่ยนแปลงแบบแปลนแผนผังและจำนวนแรงม้าของสถานที่ผลิตอาหาร (แห่งเดิม) ทั้งกรณีที่มีการผลิตแบบเข้าข่ายโรงงานและไม่เข้าข่ายโรงงาน (สบ.2) ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ผู้ประกอบการสามารถขอรับใบอนุญาตภายหลังการเปลี่ยนแปลงภายในเวลาที่กำหนดในกฎหมายซึ่งเป็นไปตามหลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี หลักสูตรการให้คำปรึกษาและแนะนำเพื่อการยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงแบบแปลนแผนผังและจำนวนแรงม้า ผ่าน e-submission (สบ.2 การแก้ไขแบบที่ต้องมีผลตรวจประเมินสถานที่ประกอบการพิจารณา) นี้ จะดำเนินการยื่นผ่านระบบ e-submission โดยมีกระบวนการยื่นขอนั้นประกอบด้วย 1) การเปิดสิทธิ์และการเตรียมเอกสารเพื่อยื่นคำขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร (อ.1) หรือ คำขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน (สบ.1) 2) ขั้นตอนการคำขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร (อ.1) หรือ คำขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน (สบ.1) 3) การเข้าใช้งานระบบ e-submission/ประเภทหลักฐานการอนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร/ประเภทผลการตรวจประเมินที่ใช้อ้างอิงคำขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร/การกรอกคำขอ อ.1 หรือ สบ.1 ผ่านเว็บแอปพลิเคชั่น และการดาวน์โหลดคำขอ/การอัปโหลด (Upload)/การยืนยันไฟล์เอกสารแนบ/การอัปโหลดไฟล์เอกสารแนบเพิ่มเติม/วิธีการชี้แจงและแก้ไขข้อบกพร่อง กรณีระบบแสดงสถานะ “เจ้าหน้าที่ขอคำชี้แจง”/วิธีการชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาต เมื่อระบบแสดงสถานะ “รอชำระเงินค่าใบอนุญาต”/การรับใบอนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร (อ.2) และใบสำคัญเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน (สบ.1/1) และเมื่อสิ้นสุดการบริการนี้ ผู้ประกอบการจะได้รับเอกสาร สบ.2 หรือเอกสารใบแทนการขออนุญาต อ.2 ที่ระบุรายการเปลี่ยนแปลงตามที่ผู้ประกอบการระบุ และสามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้ต่อไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้ผู้รับบริการมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนด
2.2 เพื่อให้ผู้ประกอบการด้านอาหารได้เกิดการตระหนักในการยื่นขอเปลี่ยนแปลงรายการของสถานที่ผลิตอาหารจากเดิมตามกฎหมายกำหนด
3. ระยะเวลา
3 เดือน
4. สิ่งที่ได้รับจากโครงการ
4.1 บุคลากรได้รับการอบรมเพื่อเพิ่มองค์ความรู้ในการยื่นขอผ่านระบบ e-submission
4.2 สถานประกอบการได้รับการอนุญาตผลิตอาหารตามการเปลี่ยนแปลงทั้งแบบเข้าข่ายและไม่เข้าข่ายโรงงาน
4.3 องค์กรสามารถต่อยอดไปสู่การขอเลข อย. ผลิตภัณฑ์ได้ในจำนวนที่มากขึ้น
4.4 ผู้ประกอบการได้รับรายงานการให้คำปรึกษา
5. คณะผู้จัดทำและพิจารณาหลักสูตร
5.1 อาจารย์ ดร.จันทนา สันทัดพร้อม
5.2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลงพิณ เพียรภูมิพงศ์
5.3 อาจารย์ ดร.ปิยะมาศ จานนอก
5.4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วีรกุล มีกลางแสน
5.5 อาจารย์ ดร.นัยวัฒน์ สุขทั่ง
5.6 อาจารย์ ดร.นาฏชนก ปรางปรุ
อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยวและแปรสภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
6. กระบวนการให้บริการ / ขอบเขตงาน
ขั้นตอน | รายการ | จำนวนวัน |
1 | ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นสถานประกอบการและผลิตภัณฑ์ โดยศึกษาเอกสารของสถานประกอบการ รวมถึงการลงสำรวจพื้นที่จริง เพื่อยืนยันขอบเขตการให้บริการ และประชุมเพื่อวางแผนการเข้าให้คำปรึกษา | 1 |
2 | อบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ ด้านข้อกำหนดและการจัดทำเอกสาร | 2 |
3 | ให้คำปรึกษา สอนและสาธิตการยื่นขออนุญาตผ่านระบบ e-submission ขั้นตอนที่ 1 การยื่นขออนุญาต | 1-2 |
4 | ทำการติดตาม แก้ไข เพิ่มเติม ตามระบุในระบบ | 1-2 |
5 | ให้คำปรึกษา สอนและสาธิตการยื่นขออนุญาตผ่านระบบ e-submission ขั้นตอนที่ 2 ภายหลังได้รับเอกสาร audit report | 1-2 |
6 | ผู้ประกอบการได้รับรายงานการให้คำปรึกษา | 1 |
หมายเหตุ: ขอบเขตงานและจำนวนวันขึ้นอยู่กับขนาดของสถานประกอบการ
เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ SME
วันที่ยื่นข้อเสนอ :
01 ม.ค. 2568, 08:00 - 31 ก.ค. 2568, 17:00
โทรศัพท์มือถือ :
0942426228
โทรศัพท์อื่นๆ :
044-233000 ต่อ 5101
อีเมล :
unisearchteamb@gmail.com
เว็บไซต์ :
-
ที่อยู่ :
744 ถนนสุรนารายณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000
เว็บไซต์สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น
เราจึงขอให้ท่านยินยอมสำหรับการใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ข้อกำหนดเว็บไซต์ และนโยบายความเป็นส่วนตัว