ความเป็นมา
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS หรือ (Business Development Service) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ SME ให้ได้รับโอกาสในการเข้าถึงการบริการสนับสนุนด้านการพัฒนาธุรกิจในรูปแบบใหม่ ที่ผู้ประกอบการ SME จะสามารถเลือกรับการบริการ หรือรับการพัฒนากับผู้ให้บริการทางธุรกิจ (Business Development Service Provider : BDSP) ในด้านที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจของตน โดย สสว. จะอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาให้แก่ผู้ประกอบการ SME แบบร่วมจ่าย (co-payment) ในสัดส่วนร้อยละ 50 – 80 สูงสุดรายละไม่เกิน 200,000 บาท ตามขนาดของธุรกิจ ซึ่งผู้ประกอบการ SME สามารถยื่นข้อเสนอเพื่อขอรับการบริการและการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ การเพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพธุรกิจ การตลาด ฯลฯ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ http://bds.sme.go.th และเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น ในปี 2567 สสว. จึงเห็นควรให้การส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS ภายใต้โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS (Business Development Service) อย่างต่อเนื่อง โดยเปิดให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกยื่นข้อเสนอการพัฒนาธุรกิจได้ 2 สิทธิ์/2 ข้อเสนอการพัฒนา ในวงเงินตามสัดส่วนตามขนาดธุรกิจ
***SME ยื่นข้อเสนอการพัฒนาได้เป็น 2 ระยะ คือ
1. ตั้งแต่วันนี้ - 31 กรกฎาคม 2567
2. ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน - 30 พฤศจิกายน 2567
ทั้งนี้ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการพัฒนา รายงานผลการพัฒนา และนำส่งเอกสารการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จตามรายละเอียดตามที่ได้ลงนามในสัญญา***
สสว. จะช่วยเหลือ อุดหนุนงบประมาณแก่ผู้ประกอบการ SME ที่ยื่นข้อเสนอการพัฒนาและได้รับการอนุมัติแล้วในสัดส่วนดังนี้
หมายเหตุ
- บริการด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น Cloud, AI, ERP, POS เป็นต้น
- บริการด้านอบรมที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562
- บริการด้านอบรมตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อให้ได้รับรองมาตรฐานตามที่กำหนด
- บริการด้านบัญชีการเงิน เช่น ระบบบัญชี การจัดทำบัญชี เป็นต้น
คุณสมบัติของผู้ประกอบการ SME ที่ต้องการขอยื่นข้อเสนอการพัฒนาเพื่อรับความช่วยเหลือ อุดหนุน จากโครงการฯ
SME ที่ขอรับความช่วยเหลือ อุดหนุน จากเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ต้องมีสถานะความเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
1. เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือเป็นบุคคลธรรมดาที่จดทะเบียนการประกอบธุรกิจกับหน่วยงานภาครัฐ โดยมุ่งเน้นกลุ่มอุตสาหกรรมในสาขาดังต่อไปนี้
2. เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME One ID)
3. กรณีเป็นบุคคลธรรมดา ต้องมีสัญชาติไทย
4. กรณีเป็นนิติบุคคล ต้องมีจำนวนหุ้นที่บุคคลสัญชาติไทยถืออยู่เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด
5. ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
6. ไม่ประกอบกิจการที่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี
7. ไม่อยู่ระหว่างถูกเพิกถอนหรือตัดสิทธิการขอรับความช่วยเหลือ การส่งเสริมหรือสนับสนุนจากเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
8. เป็นผู้ยื่นชำระภาษีตามกฎหมาย และต้องแนบสำเนารายการแสดงการยื่นภาษีประจำปี และเอกสารตามแต่ละสถานะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดังนี้
(8.1) กรณีเป็นบุคคลธรรมดา ที่ไม่ใช่วิสาหกิจชุมชน จะต้องยื่นสำเนาแบบแสดงรายการ ภงด.90 ประจำปีภาษีระหว่างปี 2564 - 2566 อย่างน้อย 1 ปีภาษี หรือ ยื่นสำเนาแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภพ.30 ประจำปีภาษีระหว่างปี 2564 - 2566 อย่างน้อย 1 ปีภาษี โดยจะต้องยื่นครบ 12 เดือนของปีภาษีนั้น
(8.2) กรณีเป็นวิสาหกิจชุมชน ที่ไม่ใช่นิติบุคคล และมีรายได้ไม่เกิน 1,800,000 บาท/ปี จะต้องยื่นเอกสารดังต่อไปนี้
ก. สำเนาหนังสือจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป
ข. เอกสารยืนยันสถานะการประกอบกิจการตามแบบฟอร์มที่สำนักงานฯ กำหนด ซึ่งต้องลงนามรับรองโดยหัวหน้า หรือผู้มีอำนาจสูงสุด หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากหัวหน้าหรือผู้มีอำนาจสูงสุดขององค์การเอกชนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือส่วนราชการ หรือ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เป็นผู้ลงนามรับรอง เช่น เกษตรอำเภอ, เกษตรจังหวัด, หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด, พัฒนากรตำบล, พัฒนาการอำเภอ, พัฒนาการจังหวัด, อุตสาหกรรมจังหวัด, พาณิชย์จังหวัด ฯลฯ
ค. สำเนาเอกสารรายรับ รายจ่าย ของวิสาหกิจชุมชนในปี 2565 - ปี 2566 ที่ลงนามรับรอง โดยผู้มีอำนาจลงนาม เช่น ประธานกลุ่ม เป็นต้น
ง. สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีหรือเอกสารแสดงเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
(8.3) กรณีเป็นวิสาหกิจชุมชน ที่ไม่ใช่นิติบุคคล แต่มีรายได้เกิน 1,800,000 บาท/ปี จะต้องยื่นสำเนาแบบแสดงรายการ ภงด.90 ประจำปีภาษีระหว่างปี 2564 - 2566 อย่างน้อย 1 ปีภาษี หรือ ยื่นสำเนาแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภพ.30 ประจำปีภาษีระหว่างปี 2564 - 2566 อย่างน้อย 1 ปีภาษี โดยจะต้องยื่นครบ 12 เดือนของปีภาษีนั้น
(8.4) กรณีเป็นวิสาหกิจชุมชนซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคล หรือเป็นนิติบุคคลอื่น ๆ ทุกประเภท จะต้องยื่นสำเนาแบบแสดงรายการ ภงด.50 ประจำปีภาษีระหว่างปี 2564 - 2566 อย่างน้อย 1 ปีภาษี หรือ ยื่นสำเนาแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภพ.30 ประจำปีภาษีระหว่างปี 2564 - 2566 อย่างน้อย 1 ปีภาษี โดยจะต้องยื่นครบ 12 เดือนของปีภาษีนั้น
9. มีคุณสมบัติหรือไม่มีลักษณะต้องห้ามอื่นตามที่สำนักงานประกาศกำหนด
เอกสารประกอบการเสนอขอเบิกจ่ายเงินและการขอรับเงินโอนผ่านระบบ KTB Online ของผู้ประกอบการ SME
หมายเหตุ 1. ผู้มีสิทธิ์รับเงินเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมในการโอนเงินทั้งจำนวนตามที่ธนาคารเรียกเก็บ หากบัญชีรับโอนเงินเป็นบัญชีของธนาคารกรุงไทย
ค่าธรรมเนียมโอนเงินครั้งละ 10 บาท หากเป็นบัญชีของธนาคารอื่นจำนวนเงินโอนไม่เกิน 2 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมโอนเงินครั้งละ 12 บาท
เว็บไซต์สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น
เราจึงขอให้ท่านยินยอมสำหรับการใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ข้อกำหนดเว็บไซต์ และนโยบายความเป็นส่วนตัว